ขอต้อนรับสู่ ยางพันธุ์ดีพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ผลิตยางพันธุ์ดี เป็นรายแรก ของจังหวัดพัทลุง ***รับรองพันธุ์แท้โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตอนนี้เปิดจอง สายพันธุ์408 แล้ว ข่าวดี....แปลงแม่ขลีพัทลุง เปิดบริการแล้ว ***

โรคใบจุดก้างปลา

โรคใบจุดก้างปลา (Corynespora Leaf Spot)

ระบาดในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2528 ที่ศูนย์วิจัยยางสุราษฏร์ธานี กับต้นยางใหญ่ พันธุ์ RRIC 103 ซึ่ง เป็นพันธุ์จากประเทศศรีลังกา และพันธุ์ RRIT 21 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อเชื้อ Phytophthora ต้องถูกตัดออกจากคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536

ลักษณะอาการ

เชื้อเข้าทำลายใบได้ทุกระยะ ช่วงใบอ่อนจะอ่อนแอต่อเชื้อมากที่สุด อาการบนใบมีตั้งแต่จุดแผลลักษณะกลม หรือรูปร่างไม่แน่นอน ขนาดเส้นผ่าเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1-8 มม. จนถึงแผลขนาดใหญ่ กลางแผลมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม และมีวงสีเหลือง ล้อมรอบรอยแผล ลักษณะเด่นของแผลที่พบบนใบคือ เส้นใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำ มีลักษณะคล้ายก้างปลา ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากเชื้อสร้างสารพิษ (toxin) ตรงบริเวณเที่เข้าทำลาย แล้วแพร่กระจายไปตามเส้นใบ ทำให้เนื้อเยื่อใบตายการเข้าทำลายของเชื้อบริเวณเส้นกลางใบเพียงแผลเดียว ก็สามารถทำให้ใบร่วงได้ ถ้าเข้าทำลายที่เส้นใบย่อย ใบจะไม่หลุดร่วง จึบพบเห็นอาการก้างปลาอย่างชัดเจนบนใบ นอนจากนี้อาจพบแผลลักษณะค่อนข้างกลมที่มีการยุบตัวของเนื้อเยื่อซ้อนกันเป็นวง (concentric spots) ตรงกลางแผลที่แห้งอาจแตกขาดเป็นรู ซึ่งลักษณะอาการแบบนี้คล้ายกับอาการที่เกิดจากเชื้อ Colletotrichum
          โรคระบาดในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางจะแสดงแค่อาการใบจุด แต่ในกรณีที่ระบาดรุนแรงจะทำให้ใบอ่อนไหม้ แห้งเหี่ยว ใบร่วง เมื่อแตกยอดใหม่ก็จะถูกเชื้อเข้าทำลาย และใบร่วงซ้ำอีก ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต และเกิดอาการตายจากยอด หากดินมีความชื้นเพียงพอ จะมีการแตกยอดอ่อนขึ้นมาใหม่ใต้ส่วนที่แห้ง ยอดอ่อนสีเขียวที่ถูกทำลายจะเกิดแผลรูปกระสวย สีน้ำตาล ขยายไปตามความยาวของลำต้น ทำให้กิ่งแห้ง เปลือกแตกจนอาจก่อให้เกิดการยืนต้นตายในที่สุด เชื้อสามารถทำให้เกิดรอยแผลสีดำบนก้านใบ เป็นสาเหตุให้ใบร่วงได้โดยไม่จำเป็นต้องเกิดแผลบนใบ แปลงกล้ายางที่เกิดโรคระบาดจะไม่สามารถติดตาได้ตามกำหนดเวลา ระยะใบยางอ่อนจะอ่อนแอต่อโรคมาก แต่ในระยะใบยางแก่อาจพบแผลมีขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุดเท่านั้น

คำแนะนำในการควบคุมโรค

  1. ไม่ควรปลูกพันธุ์อ่อนแอในพื้นที่ที่สภาพอากาศเหมาะสมต่อการระบาดของโรค โดยเฉพาะพันธุ์ RRIC 103, RRIT 21, RRII 105, RRIC 110
  2. หลีกเลี่ยงการปลูกพืชแซมที่เป็นพืชอาศัย เช่น งา มะละกอ ถั่วเหลือ
  3. ต้นยางอ่อนใช้สารเคมี mancozeb, chlorothalonil หรือ benomyl ฉีดพ่นพุ่มใบยางทุก 7 วัน เมื่อเริ่มสังเกตพบอาการ
  4. หากพบโรครุนแรงควรแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบยางพารา เพื่อหามาตรการควบคุมโรค เนื่อจากจัดเป็นโรคร้ายแรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น