ขอต้อนรับสู่ ยางพันธุ์ดีพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ผลิตยางพันธุ์ดี เป็นรายแรก ของจังหวัดพัทลุง ***รับรองพันธุ์แท้โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตอนนี้เปิดจอง สายพันธุ์408 แล้ว ข่าวดี....แปลงแม่ขลีพัทลุง เปิดบริการแล้ว ***

โรคราแป้ง

โรคราแป้ง(Powery Mildew)

เกิดจากเชื้อรา Oidium heveae ซึ่งเป็น Obligate parasite เจริญบนเนื้อเยี่อพืชที่ยังมีชีวิตอยู่ มักระบาดบนใบยางอ่อนที่แตกออกมาใหม่ภายหลังจากการผลัดใบประจำปี จึงเป็นสาเหตุทำให้ใบยางร่วงอีกครั้งหนึ่ง และกิ่งแขนงบางส่วนอาจแห้งตาย ความรุนแรงของโรคจะเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการผลัดใบของต้นยาง อายุใบ ความอ่อนแอของพันธุ์ยาง สภาพพื้นที่ของแปลงปลูก และสภาพอากาศในช่วงที่ต้นยางแตกใบใหม่ โรคนี้นอกจากจะทำให้เกิดอาการทางใบแล้ว ยังทำให้ดอกร่วงสูญเสียเมล็ดในการขยายพันธุ์ การระบาดของโรคราแป้งทให้สูญเสียผลผลิตยางแห้งได้ถึง 30% หากตรวจพบแผลบนใบจำนวนมาก และใบร่วงมากกว่าครึ่งหนึ่งของทรงพุ่ม

ลัษณะอาการ : ใบยางที่ผลออกมาใหม่ในระยะที่ยังเป็นสีทองแดง จะอ่อนแอต่อการเข้าทำลายมากที่สุด ปลายใบมีสีดำคล้ำก่อนที่จะร่วง ใบที่เป็นสีเขียวจะสังเกตเห็นกลุ่มของเส้นใยและสปอร์สีขาว-เทา ที่เชื้อราสร้างขึ้นบนผิวใบ โดยเฉพาะผิวใบด้านล่าง เนื้อเยี่อบริเวณที่เชื้อจะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาลอ่อน และเกิดเป็นจุดแผลแห้งปรากฎบนใบจนกว่าใบย่อยจะหลุดร่วง หากเชื้อเข้าทำลายรุนแรงใบจะร่วงเกือบหมดต้น ทำให้อ่อนแอ อัตราการเจริญเติบโต การงอกเปลือกใหม่ และผลผลิตลดลง ในพื้นที่ลาดชันการเกิดใบร่วงซ้ำ ๆ กัน ทำให้ปริมาณอาหารสำรองในต้นมีไม่เพียงพอ จึงมีกิ่งแขนงบางส่วนแห้งตาย และมีเชื้อโรคชนิดอื่นเข้าทำลายซ้ำเติม ถ้าเชื้อเข้าทำลายดอกจะทำให้ดอกร่วงเหลือแต่ก้านดอก
การระบาด : อุณหภูมิ และความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต การงอก การสร้างสปอร์และการเข้าทำลายเชื้อรา อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในอยู่ในช่วง 23-25 องศา และความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 90 % จึงมักแพร่ระบาดในสภาพอากาศเย็น ความชื้นสูง มีหมอกในตอนเช้า หรือมีฝนตกปรอย ๆ สลับกับแสงแดด เชื้อราอยู่ข้ามฤดูตามใบอ่อนที่แตกออกมาเป็นระยะ ๆ ในทรงพุ่ม หรือตามใบของต้นกล้ายางส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อนี้แพร่ระบาดได้ดีโดยลม มีรายงานว่า หญ้ายาง (Euphorbia hirta) ซึ่งเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งในสวนยางเป็นพืชอาศัยที่สำคัญ

คำแนะนำในการควบคุมโรค
  1. หลีกเลี่ยงพันธุ์อ่อนแอในเขตที่มีการระบาดรุนแรง เช่น PB235
  1. ปรับปุ๋ยยางให้มีธาตุไนโตรเจนมากขึ้นเพื่อเร่งใบอ่อนให้แก่เร็วขึ้น พ้นระยะอ่อนแอต่อการเข้าทำลาย
  1. กำจัดโดยการฉีดพ่นสารเคมี สำหรับต้นยางใช้ sulfur, carbendazim หรือ benomyl พ่นใบยางอ่อนทุกสัปดาห์ช่วงที่พบโรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น