ขอต้อนรับสู่ ยางพันธุ์ดีพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ผลิตยางพันธุ์ดี เป็นรายแรก ของจังหวัดพัทลุง ***รับรองพันธุ์แท้โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตอนนี้เปิดจอง สายพันธุ์408 แล้ว ข่าวดี....แปลงแม่ขลีพัทลุง เปิดบริการแล้ว ***

โรคใบจุดตานก

โรคใบจุดตานก (Birs's Eye Spot)

          เป็นโรคที่พบเสมอในแปลงกล้ายางที่ปลูกไว้เป็นต้นตอ และต้นยางในแปลงกิ่งตาสำหรับขยายพันธุ์ ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Drechslera heveae ทำให้ใบร่วง ลำต้นอ่อนแอ และชะงักการเจริญเติบโต จึงต้องใช้เวลานานกว่าต้นยางจะได้ขนาดติดตา ระบาดรุนแรงในดินทราย ดินร่วนปนทรายที่ไม่อุ้มน้ำ และขาดความอุดมสมบูรณ์ ใบที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และใบแก่จะต้านทานต่อโรค

ลักษณะอาการ

มีลักษณะแตกต่างกันตามอายุของใบและระยะเวลาในการเข้าทำลาย
  • ถ้าเชื้อราเข้าทำลายในระยะใบยังอ่อนมาก (ระยะที่ใบยังเป็นสีน้ำตาลแดง และยังมีการขยายขนาดอยู่) จะเกิดแผลช้ำน้ำสีดำ แผ่นใบหงิกงอ เหี่ยวแห้ง และร่วงในที่สุดซึ่งลักษณะอาการนี้จะไม่แตกต่างจากการเข้าทำลายของเชื้ออื่น
  • ถ้าเชื้อเข้าทำลายใบที่ขยายตัวเต็มที่แล้ว แต่ยังไม่แก่จัด (ใบมีอายุ 2-3 สัปดาห์) จะปรากฏจุดแผลค่อนข้างกลม ขอบแผลมีสีน้ำตาลล้อมรอบรอยซึ่งโปร่งแสง ขนาดของจุดมักมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 มิลลิเมตร เมื่อใบเจริญต่อไปจนแก่เต็มที่จะพบว่า ขอบแผลมีสีเหลืองล้อมรอบ
  • ถ้าเชื้อเข้าทำลายใบยางแก่ จะเห็นจุดเป็นเพียงรอยสีน้ำตาลเข้มเล็ก ๆ โดยทั่วไปจะพบลักษณะอาการทั้งสามแบบ เกิดขึ้นบนใบยางที่เป็นโรคอย่างรุนแรง กล่าวคือ ปลายใบเหี่ยวแห้ง และหลุดร่วงบางส่วน มีจุดแผลปรากฏบนใบมากมาย หากถูกเชื้อเข้าทำลายซ้ำ จะทำให้ใบยางร่วงติดต่อกัน ยอดชะงักการเจริญเติบโต และมีขนาดพองโตขึ้น อาจพบรอยแผลสีดำตามยอด และก้านใบ
การแพร่ระบาด :เชื้อราสร้างสปอร์ตรงกลางรอยแผลทางด้านล่างของแผ่นใบ สปอร์แพร่ระบาดโดยลม ฝน น้ำค้าง และการเสียดสีระหว่างต้นยาง การสัมผัสขณะทำงานจะช่วยให้เกิดการระบาดไปยังต้นข้างเคียงได้เป็นอย่างดี

คำแนะนำในการควบคุมโรค

  1. หลีกเลี่ยงการปลูกต้นกล้ายางในพื้นที่ดินทราย
  2. ใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกช่วยปรับโครงสร้างดินให้อุ้นน้ำได้ดีขึ้น
  3. ใช้สารเคมี Mancozeb,Propibeb,Chlorothalonil ใช้ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน จนกว่าต้นยางจะมีใบฉัตรใหม่ที่สมบูรณ์ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น