ขอต้อนรับสู่ ยางพันธุ์ดีพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ผลิตยางพันธุ์ดี เป็นรายแรก ของจังหวัดพัทลุง ***รับรองพันธุ์แท้โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตอนนี้เปิดจอง สายพันธุ์408 แล้ว ข่าวดี....แปลงแม่ขลีพัทลุง เปิดบริการแล้ว ***

โรคใบจุดคอลเลโทตริกัม

โรคใบจุดคอลเลโทตริกัม

เกิดจากเชื้อรา Colletorichum gloeosprides (Penz.) Sacc. โรคนี้ระบาดได้กับต้นยางทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ระยะต้นกล้า จนกระทั่งเจริญเติบโตเต็มที่ สามารถเข้าทำลายใบ และกิ่งก้านที่มีสีเขียว บางครั้งกิ่งก้านเป็นโรครุนแรงมากจนทำให้ยอดแห้งตายไปด้วย

ลักษณะอาการ : ใบอ่อนที่เพิ่งแตกออกมาใหม่ จะอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อ โดยจะเริ่มทำลายที่ปลายใบเข้ามายังโคนใบ เกิดเป็นแผลสีน้ำตาลเข้ม ทำให้ใบผิดรูปผิดร่าง เหี่ยวแห้งและร่วงหล่นเหลือแต่ก้านใบ ในระยะนี้อาการโรคมักสับสนกับอาการของโรคราแป้ง และโรคใบจุดตานก ใบที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีความต้านทานต่อการทำลายตามธรรมชาติ จึงพบอาการเป็นจุดแผลบนใบจำนวนมาก จุดแผลมีลักษณะกลมสีน้ำตาล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร ขอบแผลมีสีเหลืองเมื่อใบมีอายุมากขึ้น จุดเหล่านี้จะนูนจนสังเกตเห็นได้ชัด ถ้าระบาดรุนแรงในแปลงกล้า จะทำให้ใบร่วงโกร๋นเหลือแต่ลำต้น ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดตายาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือก การระบาดบนต้นที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว อาจมีผลต่อผลผลิต
          เนื่องจากเชื้อราทำให้เกิดใบร่วงซ้ำ ๆ กัน จนเป็นผลทำให้เกิดการตายของยอดอ่อน เชื้อจะเจริญลงมาเข้าทำลายส่วนตา และเจริญเข้าไปในลำต้น ทำให้กิ่งแขนงแห้งตาย หากเป็นรุนแรงทำให้ลำต้นแห้งตายได้ ในช่วงที่มีความชื้นสูง อาจพบกลุ่มสปอร์ของเชื้อสีส้มอ่อนหรือชมพูบนแผล
          ในสภาพดินเลว อาจพบอาการใบจุด และใบแห้งที่เกิดจากเชื้อ Colletotrichum heveae ในต้นยางเล็กที่ไม่สมบูรณ์ โดยอาการใบจุด และใบจุดมีลักษณะค่อนข้างกลม ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม เมื่อแผลมีอายุมากขึ้น กลางแผลจะมีสีซีดคล้ายอาการของโรคใบจุดตานก แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า และมีโครงสร้างเชื้อราเป็นเส้นแข็ง สีดำ ถ้าแสดงอาการใกล้ขอบใบ ทำให้ขอบใบแห้งเป็นแผลค่อนข้างใหญ่ โดยที่บนแผลนั้นจะมีเส้นสีดำขึ้นเป็นวง ๆ อย่างเป็นระเบียบ โรคนี้จะทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น

การแพร่ระบาด : เชื้อรานี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นานบนเศษซาก และเข้าทำลายพืชปลูกได้หลายชนิด สปอร์แพร่กระจายโดยลม และน้ำฝนกระเด็นไป อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของสปอร์อยู่ในช่วง 26-29 องศา หากมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 96 % จะมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง การเข้าทำลายส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเมื่อมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 96% อุณหภูมิโดยรอบอยู่ระหว่าง 26-31 องศา และมีฟิล์มของน้ำเคลือบบนส่วนที่เข้าทำลาย

คำแนะนำในการควบคุมโรค

  1. บำรุงรักษาสภาพดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง ใส่ปุ๋ยครั้งละน้อย แต่ให้บ่อยครั้ง และปรับปรุงการระบายน้ำเพื่อไม่ให้พื้นที่ปลูกมีความชื้นสูง
  2. ในแปลงกล้า ควรใช้สารเคมี Zineb, Benomyl, Chlorothalonil หรือ Propineb ฉีดพ่น ทุก ๆ 5 วัน
  3. สำหรับแปลงยางใหญ่นั้นยังไม่พบการระบาดรุนแรงในระดับที่ควรใช้สารเคมี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น