ขอต้อนรับสู่ ยางพันธุ์ดีพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ผลิตยางพันธุ์ดี เป็นรายแรก ของจังหวัดพัทลุง ***รับรองพันธุ์แท้โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตอนนี้เปิดจอง สายพันธุ์408 แล้ว ข่าวดี....แปลงแม่ขลีพัทลุง เปิดบริการแล้ว ***

โรครากขาว

โรครากขาว

เกิดเชื้อ Rigidoporus microporus (Fr.) Overeem ZSyn: Rigidoporus lignosus (Klozsch) Imazeki) มักพบการระบาดในช่วงฤดูฝน โดยจะแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสระหว่างรากที่เป็นโรคของต้นกับรากของต้นปกติ หรือสปอร์เชื้อราปลิวไปตามลม โดยเชื้อราสามารถเข้าทำลายต้นยางได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

ลักษณะอาการ

  1. ลักษณะเส้นใยซึ่งจับอยู่ที่ผิวเปลือกราก เส้นใยของเชื้อรามีสีขาว เจริญแตกสาขาปกคลุมและเกาะติดแน่นกับผิวราก เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะกลายเป็นเส้นกลมนูน สีเหลือซีด
  2. ลักษณะเนื้อไม้ของรากที่เป็นโรค ในระยะแรกจะแข็งกระด้างเป็นสีน้ำตาลซีด ในระยะรุนแรงจะกลายเป็นสีครีม ต่อมาจะยุ่ยและเบา ถ้าอยู่ในที่ชื้นแฉะจะอ่อนนิ่ม
  3. ลักษณะดอกเห็ดที่เกิดตรงโคนต้น หรือตอไม้เหนือพื้นดิน จะมีลักษณะเป็นแผ่นครึ่งวงกลมแผ่นเดียวหรือซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ผิวด้านบนมีสีเหลืองส้มโดยมีสีเข้มอ่อนเรียงสลับกันเป็นวง ผิวด้านล่างมีสีส้มแดงหรือสีน้ำตาล  ขอบดอกเห็ดมีสีขาว

คำแนะนำในการควบคุมโรค

  1. แปลงยางที่เคยเป็นโรคราก ก่อนปลูกยางซ้ำต้องใช้กำมะถันรองก้นหลุม เพื่อปรับ pH ของดินให้เหมาะสม
  2. หากพบโรค ควรขุดต้น และรากเผาทำลายให้หมด
  3. ขุุดคูล้อมบริเวณต้นที่เป็นโรค เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดไปยังต้นอื่น
  4. ในต้นที่เริ่มเป็นโรคให้ใช้สารเคมี ได้แก่ tridemorph หรือ Cyproconazole หรือ hexaconazole หรือ propiconazole หรือ fenicolonil

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น