ขอต้อนรับสู่ ยางพันธุ์ดีพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ผลิตยางพันธุ์ดี เป็นรายแรก ของจังหวัดพัทลุง ***รับรองพันธุ์แท้โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตอนนี้เปิดจอง สายพันธุ์408 แล้ว ข่าวดี....แปลงแม่ขลีพัทลุง เปิดบริการแล้ว ***

การเสริมการได้ในสวนยาง

การเสริมรายได้สามารถดำเนินการได้โดยปลูกพืช หรือเลี้ยงสัตว์ระหว่างแถวยางตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนโค่นยาง โดยพิจารณา จาก
  1. ตลาด
  2. แรงงาน
  3. เงินทุน
  4. ขนาดของพื้นที่สวนยาง
  5. สภาพแวดล้อม และ
  6. ลักษณะนิสัยของเกษตรกร

การเสริมรายได้ในสวนยางมีหลายประเภท

- การปลูกพืชเสริมรายได้ในช่วงยางอายุไม่เกิน 3 ปี

  • พืชล้มลุก เช่นสับปะรด ข้าวไร่ ข้าวโพดหวาน กล้วย หญ้ารูซี่โคไร เป็นต้น ควรปลูกห่างจากแถวยางไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร
  • กล้วยและมะละกอ แนะนำให้ปลูก 1-2 แถว และห่างจากแถวยางประมาณ 2.5 เมตร
  • ใส่ปุ๋ยบำรุงตามชนิดพืชที่ปลูก
  • ควรปลูกพืชล้มลุกในระบบหมุนเวียน
  • พืชที่ไม่แนะนำ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ละหุ่ง ยกเว้นในที่พื่นที่ที่ต้องการปลูก ให้ปลูกห่างจากแถวยางไม่ต่ำกว่า 2 เมตร

    - การปลูกพืชเสริมรายได้ที่ทนต่อสภาพร่มเงาสวนยาง

    • พืชล้มลุกที่แนะนำได้แก่ ไม้ดอกสกุลหน้าวัว ไม้ดอกสกุลเฮลิโกเนีย ไม้วงศ์ขิง ขิง ข่า ขมิ้น ผักพื้นบ้าน ควรปลูกห่างจากแถวยางประมาณ 1.5 เมตร
    • ผักเหลียง หรือผักเหมี่ยง แนะนำให้ปลูกห่างจากแถวยางประมาณ 2.5 เมตร
    • พืชสกุลระกำ เช่น ระกำ สะกำ สละเนินวง สละหม้อ และหวายตะค้าทอง แนะนำให้ปลูกกึ่งกลางแถวยาง ระยะระหว่างต้น ประมาณ 5-6 เมตร
    • กระวาน แนะนำให้ปลูก 1-2 แถว ระยะระหว่างต้น ประมาณ 3 เมตร
    • ไม้ป่าที่แนะนำให้ปลูก ได้แก่ สะเดาเทียม ทัง พะยอมสะเดา ยมหอม เคี่ยม มะฮอกกานี ตะเคียนทอง ยางนา ยมหิน ทุเรียนป่า แดง ประดู่ ควรปลูกกึ่งกลางระหว่างแถวยาง ระหว่างต้น ประมาณ 8 เมตร หรือปลูกในหลุมว่างในสวนยางในช่วงอายุ 1-3 ปี

    - การเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง

    • สัตว์ที่นิยมเลี้ยงได้แก่ แกะ โค สัตว์ปีก และผึ้ง
    • ควรปล่อยแกะและโคเข้าไปในสวนยางเมื่ออายุ 1  ปี และ 3 ปี ขึ้นไป ตามลำดับ


    ***ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

    RRIT251

    RRIT251

    แม่ �� พ่อ        คัดเลือกจากต้นกล้ายางแปลงเอกชนในจังหวัดสงขลา
    ลักษณะประจำพันธุ์
    ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ ขอบใบเป็นคลื่น ใบมีสีเขียว ฉัตรใบมีขนาดใหญ่เป็นรูปกรวย ในช่วงยางอ่อนลำต้นคดแต่จะหายไปเมื่ออายุมากขึ้น แตกกิ่งมากทั้งกิ่งขนาดกลางและขนาดใหญ่ การแตกกิ่งไม่สมดุล พุ่มใบทึบ ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปกลม ผลัดใบช้าและทยอยผลัดใบ
    ลักษณะทางการเกษตร
    ระยะก่อนเปิดกรีดเจริญเติบโตดี ระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง ขนาดลำต้น ทั้งแปลงมีความสม่ำเสมอดีทำให้มีจำนวนต้นเปิดกรีดมาก เปลือกเดิม และเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง พื้นที่ปลูกยางเดิมให้ผลผลิต 10 ปีกรีดเฉลี่ย 462 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 57 พื้นที่ปลูกยางใหม่ให้ผลผลิต 5 ปีกรีด เฉลี่ย 333 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 59 ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราโรคราแป้ง โรคใบจุดนูน และโรคราสีชมพูระดับปานกลาง ค่อนข้างต้านทานโรคเส้นดำ มีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อย ต้านทานลมระดับปานกลาง
    ลักษณะดีเด่น
    ให้ผลผลิตเนื้อยางสูงมาก ขนาดลำต้นมีความสม่ำเสมอทั้งแปลง เปิดกรีดได้เร็วมีจำนวนวงท่อน้ำยางมาก มีความต้านทานโรค และน้ำยางมีสมบัติเหมาะสมต่อการแปรรูปทางอุตสาหกรรม
    ข้อสังเกต
    ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ในระยะยางอ่อนจะอ่อนแอมากต่อโรคใบจุดนูน ข้อจำกัดพื้นที่ปลูก
    ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำ
    ใต้ดินสูง

    *****อ้างอิงจาก สถาบันวิจัยยางสงขลา กรมวิชาการเกษตร
    ข้อมูลเพิ่มเติม   เกี่ยวกับ RRIT251

    ลูกผสมยางไทยที่มีศักยภาพสูงในการให้ผลผลิตและปรับตัว ตามสภาพแวดล้อมปลูกยางต่างๆของประเทศ ผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมา สถาบันวิจัยยางสามารถคัดเลือกพันธุ์ยางได้หลายพันธุ์ที่ให้ผล ผลิตน้ำยางสูง และมีลักษณะรองที่ดี เช่น การเจริญเติบโต ความต้านทานโรค เปลือกหนา วงท่อ น้ำยางมาก ปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้หลายพันธุ์ และพันธุ์ที่อยู่ในความสนใจของ เกษตรกร คือ พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 หรือ RRIT 251