ขอต้อนรับสู่ ยางพันธุ์ดีพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ผลิตยางพันธุ์ดี เป็นรายแรก ของจังหวัดพัทลุง ***รับรองพันธุ์แท้โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตอนนี้เปิดจอง สายพันธุ์408 แล้ว ข่าวดี....แปลงแม่ขลีพัทลุง เปิดบริการแล้ว ***

โรครากแดง

โรครากแดง

เกิดจากเชื้อรา Ganoderma pseudoferreum (Wakef) Over & Steinm พบการระบาดในช่วงฤดูฝน แพร่ะกระจายได้โดยการสัมผัสกันระหว่างรากที่เป็นโรคกับรากของต้นปกติ หรือสปอร์เชื้อราปลิวไปตามลม

ลักษณะอาการ

  1. ลักษณะเส้นใยซึ่งจับอยู่ที่ผิวเปลือกราก ส่วนรากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะปกคลุมด้วยเส้นใยสีน้ำตาลแดงซึ่งส่วนปลายของเส้นใยที่กำลังเจริญจะเป็นสีขาครีม ลักษณะเส้นใยแก่จะจับกันเป็นแผ่นสีน้ำตาลแดงเป็นมันวาว เห็นได้ชัดเจนเมื่อล้างด้วยน้ำ
  2. ลักษณะเนื้อไม้ของรากที่เป็นโรค มีลักษณะขรุขระ เนื่องจากมีก้อนดินและหินเกาะติดอยู่ เนื้อไม้ของรากที่เป็นโรคจะเป็นสีน้ำตาลซีดและกลายเป็นสีเนื้อในระยะต่อมา วงปีของเนื้อไม้จะหลุดแยกออกจากกันได้ง่าย
  3. ลักษณะดอกเห็ดที่เกิดตรงโคนต้นหรือตอไม้เหนือพื้นดิน ดอกเห็ดจะเป็นแผ่นแข็ง ด้านบนเป็นรอยย่นสีน้ำตาลแดงเข้ม ด้านล่างมีสีขี้เถ้า ขอบดอกมีสีขาวครีม

คำแนะนำในการควบคุมโรค

  1. แปลงยางที่เป็นเป็นโรคราก ก่อนปลูกยางซ้ำต้องใช้กำมะถันรองก้นหลุม เพื่อปรับ pH ของดินให้เหมาะสม
  2. หากพบโรค ควรขุดต้นและรากเผาทำลายให้หมด
  3. ขุดคูล้อมบริเวณต้นที่เป็นโรค ป้องการการสัมผัสกันของราก ขนาดคูกว้าง 30 ซม. ลึก 60 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดไปยังต้นอื่น
  4. ในต้นที่เริ่มเป็นโรคให้ขุดดินรอบโคนต้นเป็นร่องแล้วใช้ tridemorph ราดโคนต้นทุก 6 เดือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น