ขอต้อนรับสู่ ยางพันธุ์ดีพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ผลิตยางพันธุ์ดี เป็นรายแรก ของจังหวัดพัทลุง ***รับรองพันธุ์แท้โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตอนนี้เปิดจอง สายพันธุ์408 แล้ว ข่าวดี....แปลงแม่ขลีพัทลุง เปิดบริการแล้ว ***

โรครากน้ำตาล

โรคราคน้ำตาล

เกิดจากเชื้อรา phellinus noxius (corner) G.H. Cunn พบการระบาดในช่วงฤดูฝน แพร่กระจายได้โดยการสัมผัสกันระหว่างรากที่เป็นโรคกับรากของต้นปกติ หรือสปอร์เชื้อราปลิวไปตามลม

ลักษณะอาการ
  1. ลักษณะเส้นใยซึ่งจับอยู่ที่ผิวเปลือกราก จะปรากฏเส้นใยสีน้ำตาลปนเหลือง เป็นขุยเหมือนกำมะหยี่ ปกคลุมผิวราก และเกาะยึดดินทรายไว้ ทำให้รากมีลักษณะขรุขระ เส้นใยเมื่อแก่จะเป็นแผ่นสีน้ำตาลดำ
  2. ลักษณะเนื้อไม้ของรากที่เป็นโรค ในระยะแรกจะเป็นสีน้ำตาลซีด ต่อมาจะปรากฎเส้นสีน้ำตาลเป็นส้นเดี่ยวลายสลับฟันปลาอยู่ในเนื้อไม้ รากที่เป็นโรคมานาน เมื่อตัดตามขวางจะเห็นลายเส้นใยที่แทรกในเนื้อไม้มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง เนื้อไม้จะเบาและแห้ง
  3. ลักษณะดอกเห็ดที่เกิดตรงโคนต้น หรือตอไม้เหนือพื้นดิน ดอกเห็ดจะเป็นแผ่นหนาและแข็ง ลักษณะครึ่งวงกลม ขนาดค่อนข้างเล็ก ผิวด้านบนมีรอยย่น เป็นวงสีน้ำตาลเข้ม ผิวด้านล่างมีสีเทา
คำแนะนำในการควบคุมโรค
  1. แปลงยางที่เคยเป็นโรคราก ก่อนปลูกยางซ้ำต้องใช้กำมะถันรองก้นหลุม เพื่อปรับ pH ให้เหมาะสม
  2. หากพบโรค ควรขุดต้นและรากเผาทำลายให้หมด
  3. ขุดคูล้อมบริเวณต้นที่เป็นโรค ป้องกันการสัมผัสกันของราก ขนาดคูกว้าง 30 ซม. ลึก 60 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดไปยังต้นอื่น
  4. ในต้นที่เริ่มเป็นโรคให้ขุดินรอบโคนต้นเป็นร่องแล้วใช้ Tridemorph ราดโคนต้นทุก 6 เดือน
อย่างไรก็ตามในการป้องกันและควบคุมโรครากยางพาราให้ได้ผลสำเร็จจะต้องมีมาตรการในการจัดการตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมการปลูกไปจนถึงหลังปลูก หรือระยะที่ต้นยางให้ผลผลิตแล้วอย่างน้อย 5-6 ปี ดังนี้
  1. การเตรียมพื้นที่ปลูกยางควรทำลายตอไม้ ท่อนไม้เก่าออกให้หมด ไถพลิกหน้าดินตากแดดเพื่อกำจัดเชื้อราที่เจริญอยู่ในดิน และในเศษไม้เล็ก ๆ ที่หลงเหลืออยู่ในดิน
  2. ในแหล่งที่มีโรคระบาด หลังการเตรียมดินควรปล่อยพื้นที่ว่างใว้ประมาณ 1-2 ปี หรือปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ในดินบางชนิดที่เป็นพิษต่อเชื้อราสาเหตุโรคราก
  3. แปลงยางที่มีประวัติการเป็นโรครากมาก่อน แนะนำให้ใช้กำมะถันผงผสมดินในหลุมปลูก 240 กรัมต่อหลุม เพื่อปรับสภาพ pH ดิน ให้เป็นกรด เหมาะต่อการเจริญของแอนทาโกนิสต์ บางจำพวก ซึ่งเป็นเชื้อปฏิปักษ์ต่อโรครากขาว และป้องกันการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรครากเข้าทำลายรากยาง
  4. หลังจากปลูกยางไปแล้ว 1 ปี ควรตรวจดูพุ่มใบเพื่อค้นหาต้นยางที่เป็นโรคราก ควรตรวจซ้ำเป็นระยะ ซึ่งความถี่ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ถ้ามีต้นเป็นดรครากไม่สูงมากนัก อาจตรวจซ้ำทุก 3 เดือน เมื่อพบต้นยางเป็นโรครุนแรงไม่อาจรักษาได้ ควรขุดต้นเผาทำลายเสีย และรักษาต้นข้างเคียงโดยการใช้สารเคมี ส่วนบริเวณไม่เป็นโรค ควรทำการตรวจปีละ 1-2 ครั้ง การขุดดูที่ราก แนะนำให้ปฏิบัติเมื่อพบว่าพุ่มใบมีอาการผิดปกติแล้วเท่านั้น  ต้นยางอายุน้อยที่เป็นโรครากนั้น การาป้องกันกำจัดมีวัตถุประสงค์เพื่อยับยั้งการระบาดของโรค ดังนั้น เมื่อพบต้นเป็นโรครากจึงควรขุดทำลายเสียให้หมด
  5. ต้นยางที่มีอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ควรขุดคูล้อมบริเวณต้นเป็นโรค (ขนาดคูกว้าง 30 เซนติเมตร) เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดไปยังต้นอื่นโดยการสัมผัสกันของราก
  6. ไม่ควรปลูกพืชซ่อม หรือพืชแซมที่เป็นพืชอาศัยในพื้นที่ที่เป็นโรคราก
  7. ใช้สารเคมีสำหรับรักษาต้นที่เป็นโรคเพียงเล็กน้อย และใช้กับต้นข้างเคียงเพื่อป้องกันโรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น