ขอต้อนรับสู่ ยางพันธุ์ดีพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ผลิตยางพันธุ์ดี เป็นรายแรก ของจังหวัดพัทลุง ***รับรองพันธุ์แท้โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตอนนี้เปิดจอง สายพันธุ์408 แล้ว ข่าวดี....แปลงแม่ขลีพัทลุง เปิดบริการแล้ว ***

ประวัติยางพาราไทย

บิดายางพาราไทย และกำเนิดสวนยาง

“ความร่ำรวยในอาชีพด้านการเกษตรนั้น คือ ความร่ำรวยของประชาชนโดยทั่ว ๆ ไป
และนั่นก็คือความมั่นคงของชาติอันเป็นส่วนรวม”

กำเนิดสวนยางพาราในประเทศไทย
               ความคิดที่จะนำยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเดินทางไปดูงาน ในประเทศมลายู เห็นชาวมลายูปลุกยางกันมีผลดีมาก ก็เกิดความสนใจที่จะนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยบ้างแต่พันธุ์ยาง สมัยนั้น ฝรั่งซึ่งเป็นเจ้าของสวนยาง หวงมาก ทำให้ไม่สามารถนนำพันธุ์ยางกลับมาได้ ในการเดินทางครั้งนั้นจนกระทั่ง พ.ศ. 2444 พระสถล สถานพิทักษ์ เดินทางไปที่ประเทศอินโดเซีย จึงมีโอกาสนำกล้ากลับมาได้ โดยเอากล้ายางมา
หุ้มรากด้วยสำลีชุบนน้ำ แล้วหุ้มทับด้วยยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่งจึงบรรจุลงลังไม้ฉำฉา ใส่เรือกลไฟซึ่งเป็นเรือส่วนตัวของพระสถลฯรีบเดินทางกลับประเทศไทยทันที

               ข้อความข้างต้นนี้  เป็นคำกล่าวของ  พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาล  มณฑลภูเก็ต นักปกครองผู้มองการณ์ไกล ที่มีความคิดริเริ่มในทางทำนุบำรุงบ้านเมืองความเป็นอยู่ของราษฎรตลอดจน เพียรพยายาม ที่จะสร้างงานด้านการเกษตรให้กับประชาชนทุกเวลา ท่านจะต้องนำเอาวิธีการใหม่ที่ได้พบเห็นมาแนะนำและส่งเสริมให้ราษฎรยึดถือไปปฏิบัติ
ทุกครั้งที่มีโอกาสเดินทางไปดูงานในต่างประเทศเช่น เมื่อไปดูงานประเทศชวากลับมา ก็ได้แนวความคิดที่จะใช้ประสานประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนโดยตรงทั้งในด้าน  การเกษตรกรผู้ผลิต และด้านความสะดวกในการซื้อหาของผู้บริโภค สิ่งนั้นคือ  "ตลาดนัด" โดยประกาศให้ราษฎรพ่อค้าแม่ค้าต่างตำบล นำสินค้าในท้องถิ่นมาจำหน่ายและแลกเปลี่ยนกัน ที่ตลาดนัดซึ่งได้หมุนเวียนสับเปลี่ยนทั่วทุกตำบลเป็นผลให้ผู้คนต่างท้องถิ่น ได้ไปมาหาสู่ต่อกันมากขึ้น

ยางพารา พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่ประเทศไทยผลิตส่งออกตลาดโลกเป็นอันดับ 3 รองลงมาจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย นั้นก็เป็นผลงานชิ้นหนึ่งจากความริเริ่มความพยายาม และความตั้งใจจริงของพระยารัษฎา ฯ เมื่อ 80  ปีที่แล้วมา อีกเช่นกัน

 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี มหาอำมาตย์โท
     พระยารัษฎาประดิษฐ์  มหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต
     มีชื่อเดิมว่า    คอซิมบี้ ณ ระนอง   เป็นบุตรคนที่ 4   ของ
     พระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดี (คอซู้เจียง)    ต้นสกุล ณระนอง
     
ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองระนอง คนแรกมารดาชื่อ กิ้ม   เกิดที่จังหวัด
     ระนองเมื่อ พ.ศ. 2400   เมื่ออายุได้ 12 ขวบ คือ พ.ศ. 2412 ได้
     ติดตามบิดาไปประเทศจีน ในโอกาสที่บิดาไปพักผ่อนและทำบุญให้กับ
     บรรพบุรุษ ณ มาตุภูมิ  จึงมีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ณ  จังหวัดเจียง
     จิวบ้าง แล้วกลับมาอยู่จังหวัดระนองช่วยบิดาทำงานตามเดิม
พ.ศ.2425 หลังจากบิดาถึงอนิจกรรม พระยาดำรงสุจริต

     มหิศรภักดี (คอซิมก้อง ณ ระนอง) ผู้เป็นพี่ชาย ได้นำถวายตัว
     เป็น มหาดเล็กใน รัชกาลที่  5  และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ 
     พระราชทานสัญญาบัตร
     เป็นที่พระอัสดงคตทิศรักษา ตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมืองสระบุรี

พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ
    หัวเมืองปักษ์ใต้ ถึงเมืองระนอง กระบุรี ทรงเห็นว่าพระอัสดงคตทิศรักษา
    (คอซิมบี้ ณ ระนอง) มีความสามารถจัดการปกครอง เป็นที่พอพระหฤทัย
    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายไป ดำรงตำแห่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
    ซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่ควนธานีแทนพระยาตรังภูมิภิบาล (เอี่ยม ณ นคร) ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

    ไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช พร้อมกับเลื่อนยศจากพระอัสดงคตทิศรักษา เป็นพระยารัษฎานุ
     ประดิษฐ์มหิศรภักดี
ในเวลาต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต มีขอบข่ายการปกครอง 7 จังหวัด คือ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตะกั่วป่า
จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล ส่วนผู้ที่มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง แทน คือ พระสถล สถานพิทักษ์(ยู่เกี๊ยด ณ ระนอง) บุตรบุญธรรมของพระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดี (คอซิมก้อง ณ ระนอง) ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญอีกผู้หนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยนั่นเอง

พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ถึงแก่อนิจกรรม ที่บ้านจักรพงษ์ ปีนัง เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2456 มีอายุได้ 56 ปีหลังจากถูกหมอจันทร์ บริบาล แพทย์ประจำจังหวัดลอบยิงด้วยปืนพก (เบรานิง) ที่สะพานเจ้าฟ้า ท่าเรือกันตัง ได้ 45 วัน
กำเนิดสวนยางพาราในประเทศไทย
        
              ความคิดที่จะนำยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเดินทางไปดูงาน ในประเทศมลายู เห็นชาวมลายูปลุกยางกันมีผลดีมาก ก็เกิดความสนใจที่จะนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยบ้างแต่พันธุ์ยาง สมัยนั้น ฝรั่งซึ่งเป็นเจ้าของสวนยาง หวงมาก ทำให้ไม่สามารถนนำพันธุ์ยางกลับมาได้ ในการเดินทางครั้งนั้นจนกระทั่ง พ.ศ. 2444 พระสถล สถานพิทักษ์ เดินทางไปที่ประเทศอินโดเซีย จึงมีโอกาสนำกล้ากลับมาได้ โดยเอากล้ายางมาหุ้มรากด้วยสำลีชุบนน้ำ แล้วหุ้มทับด้วยยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่งจึงบรรจุลงลังไม้ฉำฉา ใส่เรือกลไฟซึ่งเป็นเรือส่วนตัวของพระสถลฯรีบเดินทางกลับประเทศไทยทันที

         ยางที่นำมาครั้งนี้มีจำนวน ถึง 4 ลัง ด้วยกันพระสถลสถานพิทักษ์ ได้นำมาปลูกไว้ที่บริเวณหน้าบ้านพัก ที่อำเภอกันตังจังหวัดตรังซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือให้เห็นเป็นหลักฐานเพียงต้นเดียว อยู่บริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง และจากยางรุ่นแรกนี้ พระสถลสถานพิทักษ์ ได้ขยายเนื้อที่ปลูกออกไป จนมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 45 ไร่ นับได้ว่า พระสถลสถานพิทักษ์ คือ
ผู้เป็นเจ้าของสวนยางคนแรกของประเทศไทย
          จากนั้น พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ได้ส่งคนไปเรียนวิธีปลูกยางเพื่อมาสอนประชาชน นักเรียนของท่านที่ส่งไปก็ล้วนแต่เป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้งสิ้น พร้อมกันนั้นท่านก็สั่งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นำพันธุ์ยางไปแจกจ่าย และส่งเสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตื่นยาง และชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า ยางเทศา
         ขณะนี้มีการปลูกยางพาราไปทั่วทั้งภาคใต้และภาคตะวันออก เนื้อที่ประมาณ 9 ล้านไร่ มีผู้ถือครองประมาณ 5 แสนครอบครัวและจัดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ   รองลงมาจากข้าว    ทำรายได้ให้กับประเทศ   ปีละนับหมื่นล้านบาท    พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดีได้รับการยกย่องและให้เกียรติเป็นนบิดาแห่งยางพาราไทยด้วยเหตุฉะนี้
         จากการที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี เป็นคนทำงานจริง เข้าถึงปัญหาของชาวบ้าน กล้าลงโทษคนทำผิด ปูนบำเหน็จความดี ให้แก่คนทำดี พยายามนำสิ่งใหม่ ๆ ที่ได้พบเห็นในต่างประเทศมาสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่นและประเทศชาติอย่างมากมายทั้งยังใช้นโยบายให้คนต่างชาติมมาลงทุน และมีเงื่อนไขการแลกเปลี่ยน โดยไม่ให้ส่วนรวมเสียเปรียบซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่ท่านสร้างสรรค์ไว้นี้ เป็นพื้นฐานอันส่งผลประโยชนน์มหาศาล มากกระทั่งทุกวันนี้
          อนุสาวรีย์ หล่อใหญ่กว่าตัวจริงของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี สร้างขึ้นที่ตำหนักผ่อนกาย ตำบลทับเที่ยง จังหวัดตรังและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช   2494 หลังจากท่านถึงแก่อนิจกรรม 39 ปี นอกจากอนุสาวรีย์นี้แล้วถนนสายต่าง ๆ ทั้งในภูเก็ต ตรัง กันตัง ก็ตั้งชื่อตามพระยารัษฎา เช่น ถนนรัษฎาถนนรัษฎานุสรณ์ เป็นต้นเพื่อเป็นสิ่งที่ระลึกถึงเกียรติคุณของท่าน ให้เยาวชนรุ่นหลังระลึกถึงตลอดไป



***อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.rubberthai.com/