ขอต้อนรับสู่ ยางพันธุ์ดีพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ผลิตยางพันธุ์ดี เป็นรายแรก ของจังหวัดพัทลุง ***รับรองพันธุ์แท้โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตอนนี้เปิดจอง สายพันธุ์408 แล้ว ข่าวดี....แปลงแม่ขลีพัทลุง เปิดบริการแล้ว ***

การเก็บรักษาต้นตอตายาง

          ตามปกติต้นตอตายางที่ขุดถอนขึ้นมาแล้ว ควรนำไปปลูกให้เสร็จโดยเร็ว ไม่ควรปล่อยทิ้งเอาไว้เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ความงอกสูญเสียไป Keaopbamrang (1977) ได้รายงานผลการนำต้นตอตายางจากแปลงขยายพันธุ์ยางไปปลูกยังแปลงปลูกมีระยะสูงสุดเพียง 5 วัน ถ้าช้าไปกว่านี้ ต้นตอตายางจะตายถึง 20-30% แต่ในบางครั้งมีความจำเป็นไม่สามารถปลูกได้ทันที เนื่องจากต้องขนส่งจากแหล่งผลิตไปยังแหล่งปลูกเป็นระยะไกล ๆ หรือบางครั้งต้องชะลอการปลูกเอาไว้ ดังนั้นการปฏิบัติต่อต้นตาตายางโดยใช้วิธีการเก็บรักษาเพื่อยืดอายุของต้นตาตายางให้มีความงอกอยู่ได้นานมากที่สุด สถาบันวิจัยยางมาเลเซีย (1982) ได้แนะนำวิธีการบรรจุต้นตอตายางในห่อพลาสติกสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน 20-25 วัน จะช่วยลดปัญหาต้นตอตายางแห้งตายและเสียหายในระหว่างการขนส่งได้เป็นอย่างดี Premakumari et. Al. (1974) ได้รายงานว่าระดับความชื้นในการเก็บรักษาเป็นปัจจัยในการคงความงอกของต้นตอตายาง

      

          จรินทร์ และคณะ (2521) ได้ทดลองนำต้นตอตาเขียวพันธุ์ GT1 RRIM600 PB5/51 บรรจุลังซึ่งรองด้วยฟางข้าว ใช้เวลาในการขุดถอนและขนย้ายเป็นเวลา 3 วัน แล้วทยอยปลูกทุกวันช่วง 14 วัน ต้นตอตาเขียวที่รอการปลูกจะเก็บไว้ในที่ร่ม โดยปิดฝาลังเอาไว้และรดน้ำวันละครั้ง ผลปรากฏว่าต้นตอตาเขียวที่ปลูกวันที่ 8 ของการเก็บ จะให้ผลสำเร็จในการปลูกมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการเก็บรักษาต้นตอตายางที่ปฏิบัติได้ง่ายและสะดวกที่สุด โดยการนำต้นตอตายางวางเรืองบนฟางข้าวแล้วใช้ฟางคลุมปิดอีกครั้ง รดน้ำให้ชุ่มเพื่อรักษาความชื้น วิธีการนี้เรียกว่าบ่มต้นตอตายาง ซึ่งการบ่มต้นตอตายางไม่ควรบ่นนานเกิน 10 วัน เพราะต้นตอตายางที่เก็บรักษาไว้อาจเน่าเสียได้ สำหรับในบางท้องที่ที่ไม่สามารถหาฟางข้าวมาคลุมต้นตอตายางได้ อาจใช้กระสอบป่านแทนก็ได้