ขอต้อนรับสู่ ยางพันธุ์ดีพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ผลิตยางพันธุ์ดี เป็นรายแรก ของจังหวัดพัทลุง ***รับรองพันธุ์แท้โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตอนนี้เปิดจอง สายพันธุ์408 แล้ว ข่าวดี....แปลงแม่ขลีพัทลุง เปิดบริการแล้ว ***

การใช้สารออร์โมนกับต้นตอตายาง

ฮอร์โมนต้นตอยาง
          การใช้สารฮอร์โมนหรือสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (Plant growth regulators) ในกลุ่มออกซิน (Auxins) กับต้นตอตายาง โดยทาบริเวณรากแก้ว จะช่วยกระตุ้นให้เกิดจุดกำเนิดรากและการพัฒนาของรากแขนงได้เร็วและมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวน ปริมาณ และความยาวของรากแขนงมากขึ้นกว่าการไม่ใช้สาร (Pakianathan et. Al.,1978) จากการศึกษาการใช้สารออกซินเร่งรากแขนงของ Hafsah และ Pakianathan (1979) ได้พบว่าการใช้ Indolebutyric acid (IBA) 2,000 ppm. ในรูปดินขาวผม Captan-50 (5%) และโปแตสเซียมไนเตรท (1% KN03) มีประสิทธิภาพในการเร่งรากแขนงข้างมากที่สุด วิสุทธิ์ (2526) ได้รายงานว่าการใช้ IBA 3,000 ppm. ในรูปผงดินขาวผสมน้ำ 2.5 เท่า จุ่มรากต้นตอตายางก่อนปลูก ทำให้ต้นตอตายางเจริญเติบโตสม่ำเสมอดีกว่า ทำให้ต้นยางทนต่อสภาวะอากาศแล้วได้ดีกว่าปกติ สามารถลดอัตราการตายของต้นยางลงได้มากกว่า 50% ส่วนค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นต้นละ 30 สตางค์ นอกจากนี้ยังพบว่าสาร IBA ที่เตรียมไว้ในรูปผงผสมดินขาวสามารถเก็บไว้ในที่มืด ในสภาพอุณหภูมิปกติได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยไม่เสื่อมคุณภาพ
          Hafsah (1982) รายงานผลการทดสอบสารเร่งการแตกตาของต้นตาตายางพันธุ์ RRIM600 ผลการแตกตาหลังจากใช้สารแล้ว 2 เดือน ปรากฏว่าเบนซิลอดินิน (BA) 2,000 ppm. สามารถกระตุ้นการแตกตาได้ดีกว่าการใช้สาร GA, kinetin, ethylene และต้นที่ไม่ใช้สาร
          สาร IBA มีคุณสมบัติเป็น auxin ซึ่งมีผลต่อการเกิดและพัฒนาของรากแขนง ส่วนสาร BA ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ในกลุ่ม Cytokinin มีคุณสมบัติแก้การฟักตัวของตาข้าง กระตุ้นให้มีการแบ่ง cell อิทธิพลของสารทั้งสองในการเลี้ยงเนื้อยเยี่อของพืชชนิดต่าง ๆ หลายชนิดพบว่าสารทั้งสองกลุ่มนี้มักกะมีปฏิกริยาสัมพันธุ์กัน คือถ้าในอาหารที่เลี้ยงมี auxins สูง จะทำให้เนื้อเยื่อเกิดรากมาก แต่ถ้าในอาหารมี Cytokinins สูง เนื้อเยื่อจะมีการเจริญเติบโตทางด้านตามาก แต่จะเกิดรากน้อย (Bidwell. 1979) และจากการศึกษาอิทธิพลของสารทั้งสองชนิดกับต้นตอตายางของชัยโรจน์ (2528) พบว่าสาร Ba ได้แสดงผลต่อการเร่งการแตกตาตั้งแต่อายุ 1 สัปดาห์  ส่วนสาร IBA เริ่มแสดงอิทธิพลเมื่ออายุ 3 สัปดาห์ การใช้สาร IBA ความเข้มข้น 3,000 ppm. ให้ผลสูงสุดในการเร่งการแตกตาและการเจริญเติบโตของต้นตอตายาง แต่ไม่แตกต่างกับการใช้ IBA 2,000 ppm. การใช้ IBA ร่วมกับ BA จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตและการแตกตาได้ดีขึ้น สาร BA ควรใช้ความเข้มข้น 2,000 ppm. ในรูปของแป้งเปือกได้ผลดีกว่าการใช้ในรูปสารละลาย
1. การเตรียมและการใช้ฮอร์โมนเร่งราก  กรณีต้องการ IBA ความเข้มข้น 3,000 ppm. สามารถเตรียมได้ดังนี้
  • ชั่งสาร IBA บริสุทธิ์จำนวน 3 กรัม ด้วยเครื่องชั่งชนิดละเอียด ใส่ในถ้วยแก้วขนาด 50 มล. รินแอลกอฮอล์ 95% จำนวน 20 มล. ลงในถ้วยแก้ว ใช้แท่งแก้วขนาดเล็กคนจนละลายหมดแล้วเทลงผสมในแอลกอฮอร์ 50% จำนวน 480 มล. รวมเป็น 500 มล.
  • ชั่งดินขาว 1 กิโลกรัม KNO3 10 กรัม และ Captan-50 50 กรัม แล้วนำ IBA ที่ละลายในแอลกอฮอร์ 500 มล. ผสมน้ำ 2 ลิตร คนให้อยู่ในสภาพแขวนลอย
  • นำต้นตอตายางที่ตัดแต่งรากแขนง และรากฝอยออกจนหมดแล้ว มาจุ่มในสารละลาย IBA ที่เตรียมไว้ให้ทั่วรากแก้ว แล้วนำไปผึ่งในที่ร่มให้สารละลายแห้ง จึงนำไปปักชำในถุง
2. การเตรียมและการใช้ฮอร์โมนเร่งการแตกตา กรณีต้องการ BA ความเข้มข้น 2,000 ppm. สามารถเตรียมได้ดังนี้
  • ชั่งสาร BA บริสุทธิ์จำนวน 2 กรัม ด้วยเครื่องชั่งชนิดละเอียด ใส่ในถ้วยแก้วขนาด 50 มล. รินแอลกอฮอล์ 95% จำนวน 20 มล. ลงในถ้วยแก้ว ใช้แท่งแก้วขนาดเล็กคนจนละลายหมดแล้ว
  • ชั่งลาโนลิน จำนวน 500 กรัม แล้วทำให้เหลวโดยอาศัยความร้อน จากนั้นจึงน้ำ BA ที่ละลายในแอลกอฮอล์มาเทงในลาโนลินที่ละลายแล้ว คนให้เข้ากันแล้วตั้งไว้ให้เย็น ลาโนลินจะคืนสภาพเป็นครีมเหนียว ๆ
  • ใช้พู่กันจุ่มสาร BA ในรูปครีมเหนียว ไปป้ายบริเวณตาของต้นตอตายางที่ต้องการให้แตกออกมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น