ขอต้อนรับสู่ ยางพันธุ์ดีพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ผลิตยางพันธุ์ดี เป็นรายแรก ของจังหวัดพัทลุง ***รับรองพันธุ์แท้โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตอนนี้เปิดจอง สายพันธุ์408 แล้ว ข่าวดี....แปลงแม่ขลีพัทลุง เปิดบริการแล้ว ***

การดูแลสวนยางก่อนให้ผลผลิต

การดูแลสวนยางก่อนให้ผลผลิต
           เกษตรกรต้องใช้เวลาในการบำรุง ดูแล รักษาสวนยางพารานับจากวันแรกที่เราปลูกเสร็จจนถึงวันที่เราจะเปิดกรีดได้ ตั้งแต่ 6 ปี ถึง 6 ปีครึ่ง ซึ่งนับว่านานพอสมควร ช่วงนี้ มีแต่รายจ่าย แต่ก็สามารถสร้างรายได้จากพื้นที่ในสวนยางได้เช่นกันด้วยการปลูกพืชแซมที่ตลาดต้องการ และอีกหลาย ๆ เรื่องที่เราต้องจัดการให้ดีที่สุด จึงขอกล่าวเรื่องการจัดการในแต่ละปี จนถึงปีที่จะทำการเปิดกรีดต้นยางได้  เกษตรกรควรรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างก่อนตัดสินใจปลูกยางพารา
- ระยะ1 ปีแรกเมื่อเริ่มปลูกยางพารา  
 
          การจัดการสวนยางพาราก่อนให้ผลผลิต หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 1 ปีแรกหลังจากปลูก ซึ่งสิ่งที่ต้องดูแลเป็นอันดับแรกก็คือการจัดการทุกอย่างเพื่อให้ต้นยางพาราอยู่รอด หรือให้ตายน้อยที่สุด และควรรีบทำการปลูกซ่อมทันทีที่ทำได้, กำจัดวัชพืช, ใส่ปุ๋ย, หากไม่ปลูกพืชคลุมก็ควรทำการปลูกพืชแซมยาง, ดูแลและตัดแต่งกิ่งต้นยางก่อนเข้าหน้าแล้ง และเพื่อรักษาความชื้นในดินเมื่อเข้าสู่หน้าแล้ง ก็ควรคลุมโคนต้นยาง หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ เมื่อต้นยางพาราอายุได้ 1 ปีเต็ม ต้นที่สมบูรณ์ก็จะมีขนาดความสูงไม่ต่ำกว่า 1 เมตร

  1. หลังจากปลูกแล้ว หากฝนไม่ตกหรือทิ้งช่วงนาน ก็ควรให้น้ำบ้างเท่าที่สามารถจะให้ได้
  2. เมือฝนมาครั้งแรก ต้องสำรวจดูว่า ดินในหลุมใดยุบบ้าง ให้กลบดินเพิ่ม หากไม่กลบเมื่อฝนมาครั้งที่สอง ก็จะทำให้น้ำขังบริเวณโคนต้นซึ่งจะทำให้ต้นยางพาราตายได้
  3. หลังจากฝนครั้งแรกมาแล้ว ทิ้งช่วงนาน ฝนครั้งที่สองก็ยังไม่มาไม่มา ชาวสวนยางพาราก็ต้องมาสำรวจดูว่ามีหลุมใดบ้างที่ดินรอบ ๆ ต้นยางแตกหรือแยกเป็นวง ๆ ก็ให้กลบดินเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความชื้นระเหยออกจากหลุม ซึ่งก็อาจทำให้ต้นยางพาราเฉาหรือตายได้เช่นกัน
  4. คอยหมั่นดูแล หากพบต้นยางพาราตายต้องรีบปลูกซ่อมด้วยยางชำถุง 2 ฉัตร แต่ถ้าสวนยางมีอายุมากกว่า 2 ปีไปแล้ว ไม่ควรปลูกซ่อม แต่ถ้าต้องการปลูกซ่อมจริง ๆ ก็อาจทำได้โดยใช้ต้นยางพาราที่มีขนาดใก้ลเคียงกัน การปลูกซ่อมต้องกระทำก่อนฝนจะหมดไม่น้อยกว่า 2 เดือน
  5. ควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวต้นยางพาราเพื่อให้มีรายได้เสริมและเพื่อเป็นการคลุมดินไม่ให้มีวัชพืชโดยเฉพาะหญ้าคา หากปล่อยให้พื้นดินได้รับแสงแดด จะมีปัญหาในเรื่องหญ้าคาอย่างแน่นอน
  6. หากไม่ปลูกพืชแซม ก็ต้องปลูกพืชคลุมดิน เพื่อคลุมวัชพืช และยังเป็นการสร้างหรือใส่ปุ๋ยลงในดินโดยไม่ต้องขนปุ๋ย ไม่ต้องหว่านปุ๋ย พืชคลุมจะทำให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตได้ดี
  7. หากต้องการปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้ป่าร่วมยาง ก็สามารถปลูกได้ ไม่เกิน 15 ต้น/ไร่ ตามระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราห์การทำสวนยาง(หากท่านขอรับทุนฯ)
  8. กรณีปลูกด้วยยางชำถุง เมื่อต้นยางอายุครบ 1, 4 และ 6 เดือน ให้กำจัดวัชพืชโดยการถาก แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็ก สูตร 20-8-20 หรือสูตรอื่น เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 ตามอัตรา
  9. สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ซึ่งปลูกยางชำถุงอย่างเดียว เมื่อต้นยางอายุครบ 1 และ 6 เดือน ให้กำจัดวัชพืชโดยการถากแล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็กสูตร 20-10-12 ตามอัตรา โดยไม่แยกชนิดของดิน และในปีแรกนี้ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี (อาจใส่เมื่อต้นยางอายุครบ 6 เดือน)
  10. วิธีการใส่ปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นที่ราบ, ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันไดหรือที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยโดยโรยรอบโคนต้นในรัศมีพุ่มใบพร้อมพรวนดินกลบ หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี หรืออาจใช้เหล็กหุนแทงลงไปในดินให้ลึกพอเหมาะ จำนวน 4 หลุม หยอดปุ๋ยลงไปแล้วกลบก็ได้เช่นกัน
  11. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
  12. เมื่อต้นยางพาราอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ควรทำการตัดแต่งกิ่ง เมื่อมีการแตกกิ่งด้านข้างลำต้น ให้ใช้มีดหรือคัดเตอร์ค่อย ๆ ตัดออก ระวังอย่าให้โดนก้านใบ
  13. เมื่อสวนยางพาราเข้าสู่หน้าแล้ง ควรคลุมโคนต้นยางด้วยฟางข้าวหรือเศษวัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่น โดยเว้นระยะจากโคนต้นยางไว้ 5-10 ซม. หากจะคลุมทั้งแถวเลยโดยคลุมเป็นแถบกว้างข้างละ 1 เมตรจากแนวต้นยาง ก็จะรักษาความชื้นในดินได้ดีกว่าคลุมเฉพาะโคนต้น แต่ต้องระวังเรื่องไฟไห้มที่อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ  เช่น การทิ้งก้นบุหรี่ หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ

- เมื่อยางพารา อายุได้ 1 - 2 ปี 
        การบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราเมื่อมีอายุ 1-2 ซึ่งสิ่งที่ยังมีสำคัญมากก็คือ เมื่อต้นยางตายก็ควรรีบทำการปลูกซ่อมทันทีที่ทำได้, กำจัดวัชพืช, ใส่ปุ๋ยบำรุง, หากไม่ปลูกพืชคลุมก็ควรทำการปลูกพืชแซมยาง, ดูแลและตัดแต่งกิ่งต้นยางก่อนเข้าหน้าแล้ง และเพื่อรักษาความชื้นในดินเมื่อเข้าสู่หน้าแล้ง ก็ควรคลุมโคนต้นยาง หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ เมื่อต้นยางพาราอายุได้ 2 ปีเต็ม ควรมีขนาดเส้นรอบลำต้น 12-16 เซนติเมตร(ที่ความสูง 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน)
  1. คอยหมั่นดูแล หากพบต้นยางพาราตายต้องรีบปลูกซ่อมด้วยยางชำถุง 2 ฉัตร แต่ถ้าสวนยางพารามีอายุมากกว่า 2 ปีไปแล้ว ไม่ควรปลูกซ่อม แต่ถ้าต้องการปลูกซ่อมจริง ๆ ก็อาจทำได้โดยใช้ต้นยางพาราที่มีขนาดใก้ลเคียงกัน การปลูกซ่อมต้องกระทำก่อนฝนจะหมดไม่น้อยกว่า 2 เดือน
  2. ควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวต้นยางพาราเพื่อให้มีรายได้เสริมและเพื่อเป็นการคลุมดินไม่ให้มีวัชพืชโดยเฉพาะหน้าคา หากปล่อยให้พื้นดินได้รับแสงแดด จะมีปัญหาในเรื่องหญ้าคาอย่างแน่นอน
  3. หากไม่ปลูกพืชแซม ก็ต้องปลูกพืชคลุมดิน เพื่อคลุมวัชพืช และยังเป็นการสร้างหรือใส่ปุ๋ยลงในดินโดยไม่ต้องขนปุ๋ย ไม่ต้องหว่านปุ๋ย พืชคลุมจะทำให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
  4. หากต้องการปลูกไม้ป่าร่วมยาง ก็สามารถปลูกได้ ไม่เกิน 15 ต้น/ไร่ ตามระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราห์การทำสวนยาง(หากท่านขอรับทุนฯ)
  5. เมื่อต้นยางพาราอายุครบ 12, 15 และ 18 เดือน ให้กำจัดวัชพืชโดยการถาก แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็กสูตร 20-8-20 หรือสูตรใก้ลเคียง เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 ตามอัตรา  สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใช้สูตร 20-10-12 ตามอัตรา (โดยไม่แยกชนิดของดิน)
  6. สำหรับเขตปลูกยางพาราใหม่ ในปีที่ 2-6  ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
  7. วิธีการใส่ปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นที่ราบ, ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันไดหรือที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยโดยโรยรอบโคนต้นในรัศมีพุ่มใบพร้อมพรวนดิน
  8. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
  9. ควรทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่ดี เพื่อให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตเร็ว และได้ไม้ที่มีขนาดความยาวตามที่โรงเลื่อยไม้ต้องการ ขนาด 2.4 เมตร การตัดแต่งกิ่งควรทำก่อนที่จะหมดฝน ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในหน้าแล้ง
  10. เมื่อสวนยางพาราเข้าหน้าแล้ง ควรคลุมโคนต้นยางด้วยฟางข้าวหรือเศษวัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่น โดยเว้นระยะจากโคนต้นยางไว้ 5-10 ซม. หากจะคลุมทังแถวเลยโดยคลุมเป็นแถบกว้างข้างละ 1 เมตรจากแนวต้นยาง ก็จะรักษาความชื้นในดินได้ดีกว่าคลุมเฉพาะโคนต้น แต่ต้องระวังเรื่องไฟไห้มที่อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ  เช่น การทิ้งก้นบุหรี่ หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ
- เมื่อยางพารา อายุได้ 2 - 3 ปี 
    การบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 2-3 ปี ขนาดการเจริญเติบโตของต้นยางเมื่ออายุครบ 3 ปีเต็ม ควรมีขนาดเส้นรอบลำต้น 21-27 เซนติเมตร(ที่ความสูง 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน)
  1. เมื่อสวนยางพาราที่มีอายุมากกว่า 2 ปีไปแล้ว ไม่ควรปลูกซ่อม แต่ถ้าต้องการปลูกซ่อมจริง ๆ ก็อาจทำได้โดยใช้ต้นยางพาราที่มีขนาดใก้ลเคียงกัน การปลูกซ่อมต้องกระทำก่อนฝนจะหมดไม่น้อยกว่า 2 เดือน
  2. ควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวต้นยางพาราเพื่อให้มีรายได้เสริมและเพื่อเป็นการคลุมดินไม่ให้มีวัชพืชโดยเฉพาะหญ้าคา หากปล่อยให้พื้นดินได้รับแสงแดด จะมีปัญหาในเรื่องหญ้าคาอย่างแน่นอน
  3. หากไม่ปลูกพืชแซม ก็ต้องปลูกพืชคลุมดิน เพื่อคลุมวัชพืช และยังเป็นการสร้างหรือใส่ปุ๋ยลงในดินโดยไม่ต้องขนปุ๋ย ไม่ต้องหว่านปุ๋ย พืชคลุมจะทำให้ต้นยางเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
  4. เมื่อต้นยางพาราอายุครบ 24 และ 30 เดือน ให้กำจัดวัชพืชด้วยการถาก, ไถ หรือพ่นด้วยสารเคมี(ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ) แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็ก สูตร 20-8-20 หรือสูตรใก้ลเคียง เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-10-12 ตามอัตรา
  5. สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ในปีที่ 2-6  ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
  6. วิธีการใส่ปุ๋ย
    • ที่ราบ ควรใส่เป็นแถบซึ่งควรอยู่ตรงแนวทรงพุ่มต้นยางทั้ง 2 ด้าน โดยขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
    • ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันได ควรใส่เป็นหลุมแล้วกลบ โดยขุดหลุมลึก 5-10 ซม.ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
    • ที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ควรขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ หรือใส่เป็นหลุม ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
  7. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
  8. ควรทำการตัดแต่งกิ่งต้นยางพาราเพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่ดี เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็ว และได้ไม้ที่มีขนาดความยาวของเปลาตามที่โรงเลื่อยไม้ต้องการ คือเปลายาว 2.4 เมตร ฉะนัน กิ่งที่อยู่ในระดับต่ำกว่านี้จะต้องตัดออกให้หมด การตัดแต่งกิ่งควรทำก่อนที่จะหมดฝน ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในหน้าแล้ง
  9. เมื่อสวนยางพาราเข้าสู่หน้าแล้ง ควรคลุมโคนต้นยางพาราด้วยฟางข้าวหรือเศษวัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่น โดยเว้นระยะจากโคนต้นยางไว้ 5-10 ซม. หากจะคลุมทั้งแถวเลยโดยคลุมเป็นแถบกว้างข้างละ 1 เมตรจากแนวต้นยาง ก็จะรักษาความชื้นในดินได้ดีกว่าคลุมเฉพาะโคนต้น แต่ต้องระวังเรื่องไฟไห้มที่อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ  เช่น การทิ้งก้นบุหรี่ หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ
  10. ในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด เช่น ในเขตปลูกยางพาราใหม่ เมื่อสวนยางพาราเข้าหน้าแล้ง ให้ป้องกันเปลือกหรือลำต้นยางเป็นรอยไหม้จากการถูกแสงแดดเผา ด้วยการใช้ปูนขาว 1 ส่วน ผสมน้ำ 2 ส่วน แช่หรือหมักค้างคืนไว้ 1 คืน แล้วนำมาทาลำต้นยางตั้งแต่โคนต้น ไปจนถึงที่ความสูง 1.0-1.5 เมตร โดยทาเฉาะลำต้นส่วนที่เป็นสีน้ำตาล ไม่ต้องทาลำต้นที่เป็นสีเขียว

- เมื่อยางพารา อายุได้ 3 - 4 ปี 

        การบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระหว่างปีที่ 3-4  เมื่อต้นยางพาราอายุได้ 4 ปีเต็ม ควรมีขนาดเส้นรอบลำต้น 29-37 เซนติเมตร(ที่ความสูง 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน)
  1. หากต้องปลูกพืชคลุมดิน ก็สามารถทำได้แต่ต้องเป็นพืชคลุมชนิดซีลูเรียม ซึ่งมีความทนทานต่อสภาพร่มเงาได้ดี
  2. เมื่อต้นยางพาราอายุครบ 36 และ 42 เดือน ให้กำจัดวัชพืชด้วยการถาก, ไถ หรือพ่นด้วยสารเคมี(ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ) แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็ก สูตร 20-8-20 หรือสูตรใก้ลเคียง เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-10-12 ตามอัตรา
  3. สำหรับเขตปลูกยางพาราใหม่ ในปีที่ 2-6  ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
  4. วิธีการใส่ปุ๋ย
    • ที่ราบ ควรใส่เป็นแถบซึ่งควรอยู่ตรงแนวทรงพุ่มต้นยางทั้ง 2 ด้าน โดยขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
    • ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันได ควรใส่เป็นหลุมแล้วกลบ โดยขุดหลุมลึก 5-10 ซม.ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
    • ที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ควรขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ หรือใส่เป็นหลุม ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
  5. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
  6. ควรทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่ดี เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็ว และได้ไม้ที่มีขนาดความยาวของเปลาตามที่โรงเลื่อยไม้ต้องการ คือเปลายาว 2.4 เมตร ฉะนัน กิ่งที่อยู่ในระดับต่ำกว่านี้จะต้องตัดออกให้หมด การตัดแต่งกิ่งควรทำก่อนที่จะหมดฝน ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในหน้าแล้ง
  7. เมื่อต้นยางพาราอายุมากกว่านี้ จะต้องกำจัดพืชแซมระหว่างแซมยางออกให้หมด
  8. ก่อนเข้าหน้าแล้ง ควรทำทางป้องกันไฟ โดยเฉพาะสวนยางพาราที่อยู่ใก้ล ๆ กับสวนยางที่กำลังโค่นใหม่(ที่อาจจะทำการเผาปรนเศษกิ่งและรากไม้)
  9. เมื่อสวนยางพาราเข้าสู่หน้าแล้ง ควรคลุมโคนต้นยางพาราด้วยฟางข้าวหรือเศษวัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่น โดยเว้นระยะจากโคนต้นยางไว้ 5-10 ซม. หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ
  10. ในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด เช่น ในเขตปลูกยางพาราใหม่ เมื่อสวนยางพาราเข้าหน้าแล้ง ให้ป้องกันเปลือกหรือลำต้นยางเป็นรอยไหม้จากการถูกแสงแดดเผา ด้วยการใช้ปูนขาว 1 ส่วน ผสมน้ำ 2 ส่วน แช่หรือหมักค้างคืนไว้ 1 คืน แล้วนำมาทาลำต้นยางตั้งแต่โคนต้น ไปจนถึงที่ความสูง 1.0-1.5 เมตร โดยทาเฉาะลำต้นส่วนที่เป็นสีน้ำตาล ไม่ต้องทาลำต้นที่เป็นสีเขียว
- เมื่อยางพารา อายุได้ 4 - 5 ปี 
        การบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระหว่างปีที่ 4-5 เมื่อต้นยางพาราอายุได้ 5 ปีเต็ม ควรมีขนาดเส้นรอบลำต้น 36-46 เซนติเมตร(ที่ความสูง 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน)
  1. เมื่อต้นยางพาราอายุครบ 48 และ 54 เดือน ให้กำจัดวัชพืชในแถวต้นยางด้วยการหวดหรือตัดชิดดิน, ถาก หรือพ่นด้วยสารเคมี(ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ) ในระหว่างแถวต้นยาง ควรหวดหรือตัดชิดดิน, ไถ หรือพ่นด้วยสารเคมี 
  2. ทำการใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางใหญ่ เช่น สูตร 20-8-20 สำหรับเขตปลูกยางพาราใหม่ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-10-12 ตามอัตรา หรืออาจใส่มากกว่าที่กำหนดก็ได้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาในหลาย ๆ ด้าน เช่น สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน, ภาวะทางเศรษฐกิจของเจ้าของสวนยาง เป็นนต้น
  3. สำหรับเขตปลูกยางพาราใหม่ ในปีที่ 2-6  ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
  4. วิธีการใส่ปุ๋ย
    • ที่ราบ ควรใส่เป็นแถบซึ่งควรอยู่ตรงแนวทรงพุ่มต้นยางทั้ง 2 ด้าน โดยขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
    • ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันได ควรใส่เป็นหลุมแล้วกลบ โดยขุดหลุมลึก 5-10 ซม.ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
    • ที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ควรขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ หรือใส่เป็นหลุม ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
  5. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
  6. เมื่อต้นยางพาราอายุครบ 48 เดือน ต้องกำจัดพืชแซมระหว่างแซมยางออกให้หมด
  7. ก่อนเข้าหน้าแล้ง ควรทำทางป้องกันไฟ โดยเฉพาะสวนยางพาราที่อยู่ใก้ล ๆ กับสวนยางที่กำลังโค่นใหม่ซึ่งอาจะมีการเผาปรนเศษกิ่งและรากไม้
- เมื่อยางพารา อายุได้ 5 - 6 ปี 
การจัดการสวนยางพาราก่อนให้ผลผลิต หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระหว่างปีที่ 5-6 เมื่อต้นยางพาราอายุได้ 6 ปีเต็ม ควรมีขนาดเส้นรอบลำต้น 43-52 เซนติเมตร(ที่ความสูง 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน)
  1. ต้นยางพารา 5 ปีครึ่ง พ้นสงเคราะห์ มีขนาดเส้นรอบต้นโดยเฉลี่ย 46 ซม.เมื่อต้นยางพาราอายุครบ 60 และ 66 เดือน ให้กำจัดวัชพืชในแถวต้นยางด้วยการหวดหรือตัดชิดดิน, ถาก หรือพ่นด้วยสารเคมี(ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ) ในระหว่างแถวต้นยาง ควรหวดหรือตัดชิดดิน, ไถ หรือพ่นด้วยสารเคมี
  2. ทำการใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางใหญ่ เช่น สูตร 20-8-20  สำหรับเขตปลูกยางพาราใหม่ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-10-12 ตามอัตรา หรืออาจใส่มากกว่าที่กำหนดก็ได้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาในหลาย ๆ ด้าน เช่น สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน, ภาวะทางเศรษฐกิจของเจ้าของสวนยาง เป็นนต้น
  3. สำหรับเขตปลูกยางพาราใหม่ ในปีที่ 2-6  ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
  4. วิธีการใส่ปุ๋ย
    • ที่ราบ ควรใส่เป็นแถบซึ่งควรอยู่ตรงแนวทรงพุ่มต้นยางทั้ง 2 ด้าน โดยขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
    • ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันได ควรใส่เป็นหลุมแล้วกลบ โดยขุดหลุมลึก 5-10 ซม.ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
    • ที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ควรขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ หรือใส่เป็นหลุม ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
  5. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
  6. หมั่นสังเกตสีของใบยางในกรณีที่อาจมีโรครากเข้าทำลาย
  7. ก่อนเข้าหน้าแล้ง ควรทำทางป้องกันไฟ โดยเฉพาะสวนยางที่อยู่ใก้ล ๆ กับสวนยางที่กำลังโค่นใหม่ซึ่งต้องทำการเผาปรนเศษกิ่งและรากไม้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.km.rubber.co.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น