ขอต้อนรับสู่ ยางพันธุ์ดีพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ผลิตยางพันธุ์ดี เป็นรายแรก ของจังหวัดพัทลุง ***รับรองพันธุ์แท้โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตอนนี้เปิดจอง สายพันธุ์408 แล้ว ข่าวดี....แปลงแม่ขลีพัทลุง เปิดบริการแล้ว ***

คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2554 สถาบันวิจัยยาง

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร
คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2554
. ยางพารา 32 (1) : 4-34 (2554)
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้เริ่มจัดทำคำแนะนำพันธุ์ยางแก่เกษตรกรตั้งแต่ปี 2504 และจะมีการเปลี่ยนแปลงคำแนะนำพันธุ์ยางทุก 4 ปี โดยพิจารณาจากพันธุ์ยางใหม่ที่ได้รับจากผลงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ยางสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูกยางที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการตอบสนองต่อวัตถุประสงค์การปลูกยางของเกษตรกร จากเดิมที่การปลูกยางจะมีวัตถุประสงค์ในด้านการเพิ่มผลผลิตน้ำยางเป็นหลัก มาเป็นการปลูกยางเพื่อน้ำยางและ/หรือเนื้อไม้ ดังนั้น ในคำแนะนำพันธุ์ยางฉบับใหม่ ปี 2554 นี้ จึงได้คัดเลือกพันธุ์ยางแนะนำให้เหมาะสมตามพื้นที่ปลูกยาง ได้แก่ พื้นที่ปลูกยางเดิมภาคใต้และภาคตะวันออก พื้นที่ปลูกยางใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และบางส่วนของภาคตะวันออก โดยกำหนดให้พันธุ์ยางที่แนะนำแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยาง พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้และพันธุ์ยางเพื่อผลผลิตเนื้อไม้ ให้เกษตรกรเลือกพันธุ์ได้ตามวัตถุประสงค์ของการปลูก
ปัจจัยที่พิจารณาในการเลือกใช้พันธุ์ยาง
 
1. ความต้องการของเกษตรกรที่จะเลือกพันธุ์ยางปลูกว่าต้องการผลผลิตน้ำยางหรือเนื้อไม้
2. การระบาดของโรค ให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงการปลูกพันธุ์ยางที่อ่อนแอต่อโรคที่ระบาดในเขตพื้นที่ที่ปลูก
3. พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ความลึกของหน้าดินตื้น ระดับน้ำใต้ดินสูง ให้พิจารณาตามข้อจำกัดของพันธุ์ที่ระบุไว้ในแต่ละพันธุ์
4. ความแรงลม พื้นที่ปลูกที่มีลมแรงในบางจังหวัดทางภาคใต้ ได้แก่ ตรัง ภูเก็ต บางจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ขอนแก่น บุรีรัมย์ อุบลราชธานี สุรินทร์ อุดรธานี และบางจังหวัดทางภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่สุโขทัย นครสวรรค์ ควรหลีกเลี่ยงการปลูกพันธุ์ ที่ไม่ต้านทานลม นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว เกษตรกรควรจัดการสวนยางตามคำแนะนำของ
สถาบันวิจัยยาง เช่น ระยะปลูก การใส่ปุ๋ย การตัดแต่งกิ่ง การป้องกันกำจัดโรค การใช้ระบบ
กรีดและสารเคมีเร่งน้ำยาง ให้เหมาะสมกับพันธุ์ยาง
เขตการระบาดของโรค
การระบาดของโรคมีความสัมพันธ์กับปริมาณและการกระจายตัวของฝน ความชื้นสัมพัท ธ์ แ ล ะ อุณ ห ภูมิ จ า ก ข้อ มูล ส ภ า พภูมิอากาศเฉลี่ย 40 ปี (..2513-2552) ของกรมอุตุนิยมวิทยา สามารถแบ่งเขตพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคยางที่สำคัญซึ่งเกษตรกรควรนำมาเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาเลือกปลูกพันธุ์ยางที่มีความต้านทาน

คำแนะนำพันธุ์ยางปี 2554 ต่อโรคระบาดในพื้นที่เสี่ยงดังนี้
1. โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อราไฟทอฟ ธอรา โรคเส้นดำ โรคราสีชมพู โรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อราคอลเลโทริกัม เป็นโรคที่ระบาดในสภาพที่มีความชื้นสูง มีฝนตกชุกต่อเนื่อง การระบาดของโรคมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตก
1.1 พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคสูง ได้แก่ พื้นที่ปลูกที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยมากกว่า2,000มิลลิเมตรต่อปีมักพบการระบาดของโรคเป็นประจำทุกปี

ภาค                                                        จังหวัด
ตะวันออกเฉียงเหนือ                         นครพนม
ตะวันออก                                             จันทบุรี ตราด
ใต้           ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
1.2 พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาด ของโรคปานกลาง ได้แก่ พื้นที่ปลูกที่มีปริมาณ น้ำฝนระหว่าง 1,400 - 2,000 มิลลิเมตรต่อปีพบปัญหาการระบาดของโรคเป็นบางปี
ภาค                                                                    จังหวัด
เหนือ             พื้นที่บางส่วนของ                    จังหวัดเชียงราย น่าน
ตะวันออกเฉียงเหนือ                        หนองคาย สกลนคร บางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี
ตะวันออก                                            ระยอง
กลาง                                                      กาญจนบุรี
ใต้                                                           สุราษฎร์ธานี สงขลา สตูล ชุมพร
2. โรคราแป้ง ระบาดรุนแรงในช่วงยางผลิใบใหม่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่มีสภาพอากาศกลางวันค่อนข้างร้อน กลางคืนอากาศเย็น มีความชื้นสูง มีหมอกในตอนเช้า หรือมีฝนตกปรอยๆ
2.1 พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคสูง ได้แก่ พื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยในเดือนมกราคมต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส
ภาค                                                        จังหวัด
เหนือ                                                     ทุกจังหวัด
ตะวันออกเฉียงเหนือ                         จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
2.2 พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคปานกลาง ได้แก่ พื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำสุด
เฉลี่ยในเดือนมกราคมอยู่ระหว่าง 17-20 องศาเซลเซียส
ภาค                                                        จังหวัด
ตะวันออกเฉียงเหนือ                         จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
กลาง                                                      จังหวัดในภาคกลางตอนบน
3. โรคใบจุดก้างปลา ระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกไม่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นช่วงสภาพ
อากาศมีความชื้นต่ำ สลับกับความชื้นสูง และ อุณหภูมิระหว่าง 28-30 องศาเซลเซียส ปัจจุบัน


ภาพที่ 1 ระดับความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคใบร่วงไฟทอฟธอรา เส้นดำ ราสีชมพู และโรคใบจุดคอลเลโทตริกัมของพื้นที่ปลูกยางในประเทศไทย

ภาพที่ 2 ระดับความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคราแป้งของพื้นที่ปลูกยางในประเทศไทย

พบระบาดรุนแรงในจังหวัดจันทบุรี ตราด และ
ระยอง
พื้นที่ปลูกยาง
พื้นที่ปลูกยางเดิม หมายถึง พื้นที่ปลูกยาง ใน 14 จังหวัดภาคใต้ และ 3 จังหวัดของภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง จันทบุรี และตราดพื้นที่ปลูกยางใหม่ หมายถึง พื้นที่ปลูกยางในจังหวัดอื่นๆ นอกเหนือจากจังหวัดในพื้นที่ปลูกยางเดิม
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก แบ่งออกเป็น3 ชั้น ตามรายละเอียดของข้อมูล ดังนี้
พันธุ์ยางชั้น 1
เป็นยางพันธุ์ดีที่ผ่านการทดลองและศึกษาลักษณะต่าง ๆ อย่างละเอียด แนะนำให้ปลูกโดยไม่จำกัดเนื้อที่ปลูก
พันธุ์ยางชั้น 2
เป็นยางพันธุ์ดีที่อยู่ระหว่างการทดลอง และศึกษาลักษณะบางประการเพิ่มเติม แนะนำ
ให้ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของเนื้อที่ปลูกยางที่ถือครอง แต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
เกษตรกรที่มีความประสงค์จะเลือกปลูกพันธุ์ยางชั้นนี้ ควรปลูกภายใต้การแนะนำจากสถาบันวิจัย
ยาง
พันธุ์ยางชั้น 3
เป็นยางพันธุ์ดีที่อยู่ระหว่างการทดลองและยังมีข้อมูลจำกัด แนะนำให้ปลูกได้ไม่เกิน
ร้อยละ 20 ของเนื้อที่ปลูกยางที่ถือครอง แต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่ เกษตรกรที่มีความ
ประสงค์จะเลือกปลูกพันธุ์ยางชั้นนี้ ควรปลูกภายใต้การแนะนำจากสถาบันวิจัยยางพันธุ์ยางแนะนำ เฉพาะชั้น 1 และชั้น 2แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามวัตถุประสงค์ของการปลูกดังนี้
กลุ่ม 1
พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยาง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเป็นหลัก การเลือกปลูกพันธุ์ยางในกลุ่มนี้ควรมุ่งเน้นผลผลิตน้ำยาง
กลุ่ม 2
พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้เป็นพันธุ์ที่ให้ทั้งผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ โดย
ให้ผลผลิตน้ำยางสูงและมีการเจริญเติบโตดีลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วน
ลำต้นสูง
กลุ่ม 3
พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตเนื้อไม้ เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้สูงเป็นหลัก มีการเจริญเติบโต
ดีมาก ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วนลำต้นสูงมาก ผลผลิตน้ำยางจะอยู่ในระดับ
ต่ำกว่าพันธุ์ยางในกลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 เหมาะสำหรับเป็นพันธุ์ที่จะปลูกเป็นสวนป่าเพื่อการผลิตเนื้อไม้
พันธุ์ยางที่แนะนำในพื้นที่ปลูกยางเดิม
พันธุ์ยางชั้น 1
กลุ่ม 1, พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยาง :สถาบันวิจัยยาง 251, สถาบันวิจัยยาง 226,
BPM 24 และ RRIM 600
กลุ่ม 2, พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยางและ ว. ยางพารา 32 (1), 2554 เนื้อไม้ : PB 235, PB 255 และ PB 260
กลุ่ม 3, พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตเนื้อไม้ :ฉะเชิงเทรา 50, AVROS 2037 และ BPM 1
พันธุ์ยางชั้น 2

คำแนะนำพันธุ์ยางปี 2554

สถาบันวิจัยยาง 251 (RRIT 251)
แม่ x พ่อ :            คัดเลือกจากต้นกล้ายางแปลงเอกชนในจังหวัดสงขลา
แหล่งกำเนิด :      ราชอาณาจักรไทย
การเจริญเติบโต : การเจริญเติบโตก่อน เปิดกรีดดี และระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง
ความสม่ำเสมอของขนาดลำต้นทั้งแปลงดี ทำให้มีจำนวนต้นเปิดกรีดมาก
การแตกกิ่งและทรงพุ่ม : แตกกิ่งมากทั้ง ขนาดใหญ่และขนาดกลาง การแตกกิ่งไม่สมดุล พุ่มใบทึบ ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปกลม
การผลัดใบ :                        ทยอยผลัดใบ
ความหนาเปลือก :             เปลือกเดิมหนาเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง
ระบบกรีดที่เหมาะสม :     ครึ่งลำต้น วันเว้นวัน
ผลผลิตเนื้อยางแห้ง :        ในพื้นที่ปลูกยางเดิมให้ผลผลิต 10 ปีกรีด เฉลี่ย 462 กิโลกรัม ต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 57 ในพื้นที่ปลูกยางใหม่ให้ผลผลิต 8 ปีกรีด เฉลี่ย 343 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 59
ความต้านทานโรค :          ค่อนข้างต้านทานต่อ เส้นดำ ต้านทานปานกลางต่อใบร่วงไฟทอฟธอราราแป้ง ใบจุดคอลเลโทตริกัม ใบจุดก้างปลา และราสีชมพู
อาการเปลือกแห้ง :             มีจำนวนต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งน้อย
ความต้านทานลม :            ต้านทานปานกลาง
ข้อจำกัดพื้นที่ปลูก :           ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง
ข้อสังเกต/ข้อแนะนำ : ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ยางพันธุ์นี้ในระยะยางอ่อนจะอ่อนแอมากต่อโรคใบจุดคอลเลโทตริกัม ไม่แนะนำให้กรีดถี่มากกว่าวันเว้นวัน เพราะต้นยางจะแสดงอาการเปลือกแห้งมากเนื่องจากเป็นพันธุ์ที่มีทรงพุ่มใหญ่ ไม่ควรปลูกด้วยระยะปลูกน้อยกว่า3 x 7 เมตร

RRIM 600
แม่ x พ่อ :            Tjir 1 x PB 86
แหล่งกำเนิด :     สหพันธรัฐมาเลเซีย
การเจริญเติบโต : การเจริญเติบโตก่อนเปิดกรีดและระหว่างกรีดปานกลาง ความสม่ำเสมอของขนาดลำต้นทั้งแปลงปานกลาง
การแตกกิ่งและทรงพุ่ม : แตกกิ่งช้า กิ่งมีขนาดปานกลาง ทิ้งกิ่งมาก ทรงพุ่มมีขนาด ปานกลางเป็นรูปพัด
การผลัดใบ : เริ่มผลัดใบเร็ว
ความหนาเปลือก : เปลือกเดิมบางเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง
ระบบกรีดที่เหมาะสม : ครึ่งลำต้น วันเว้นวัน
ผลผลิตเนื้อยางแห้ง : ในพื้นที่ปลูกยางเดิมให้ผลผลิต 10 ปีกรีด เฉลี่ย 297 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ในพื้นที่ปลูกยางใหม่ให้ผลผลิต10 ปีกรีด เฉลี่ย 263 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
ความต้านทานโรค : ต้านทานปานกลาง ต่อราแป้ง และใบจุดคอลเลโทตริกัม ค่อนข้างอ่อนแอต่อใบจุดก้างปลาและเส้นดำ อ่อนแอต่อใบร่วงไฟทอฟธอรา และราสีชมพู
อาการเปลือกแห้ง : มีจำนวนต้นยางแสดง อาการเปลือกแห้งน้อย
ความต้านทานลม : ต้านทานปานกลาง
ข้อจำกัดพื้นที่ปลูก : ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง
ข้อสังเกต/ข้อแนะนำ : ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก เนื่องจากค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคใบร่วงไฟทอฟธอรา และโรคเส้นดำ และในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคใบจุดก้างปลารุนแรง
ข้อมูลและลักษณะที่สำคัญของ
พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยาง
และเนื้อไม้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น