ขอต้อนรับสู่ ยางพันธุ์ดีพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ผลิตยางพันธุ์ดี เป็นรายแรก ของจังหวัดพัทลุง ***รับรองพันธุ์แท้โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตอนนี้เปิดจอง สายพันธุ์408 แล้ว ข่าวดี....แปลงแม่ขลีพัทลุง เปิดบริการแล้ว ***

แปลงกิ่งตาพันธุ์

เป็นแปลงกิ่งตาพันธุ์ ทั้งหมดของคุณกัลยา ศรีสว่าง

วีดีโอแนะนำแปลงยาง

รู้จักกับ นางกัลยา ศรีสว่าง เจ้าของแปลงยาง

การดูแลสวนยางก่อนให้ผลผลิต

การดูแลสวนยางก่อนให้ผลผลิต
           เกษตรกรต้องใช้เวลาในการบำรุง ดูแล รักษาสวนยางพารานับจากวันแรกที่เราปลูกเสร็จจนถึงวันที่เราจะเปิดกรีดได้ ตั้งแต่ 6 ปี ถึง 6 ปีครึ่ง ซึ่งนับว่านานพอสมควร ช่วงนี้ มีแต่รายจ่าย แต่ก็สามารถสร้างรายได้จากพื้นที่ในสวนยางได้เช่นกันด้วยการปลูกพืชแซมที่ตลาดต้องการ และอีกหลาย ๆ เรื่องที่เราต้องจัดการให้ดีที่สุด จึงขอกล่าวเรื่องการจัดการในแต่ละปี จนถึงปีที่จะทำการเปิดกรีดต้นยางได้  เกษตรกรควรรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างก่อนตัดสินใจปลูกยางพารา
- ระยะ1 ปีแรกเมื่อเริ่มปลูกยางพารา  
 
          การจัดการสวนยางพาราก่อนให้ผลผลิต หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 1 ปีแรกหลังจากปลูก ซึ่งสิ่งที่ต้องดูแลเป็นอันดับแรกก็คือการจัดการทุกอย่างเพื่อให้ต้นยางพาราอยู่รอด หรือให้ตายน้อยที่สุด และควรรีบทำการปลูกซ่อมทันทีที่ทำได้, กำจัดวัชพืช, ใส่ปุ๋ย, หากไม่ปลูกพืชคลุมก็ควรทำการปลูกพืชแซมยาง, ดูแลและตัดแต่งกิ่งต้นยางก่อนเข้าหน้าแล้ง และเพื่อรักษาความชื้นในดินเมื่อเข้าสู่หน้าแล้ง ก็ควรคลุมโคนต้นยาง หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ เมื่อต้นยางพาราอายุได้ 1 ปีเต็ม ต้นที่สมบูรณ์ก็จะมีขนาดความสูงไม่ต่ำกว่า 1 เมตร

  1. หลังจากปลูกแล้ว หากฝนไม่ตกหรือทิ้งช่วงนาน ก็ควรให้น้ำบ้างเท่าที่สามารถจะให้ได้
  2. เมือฝนมาครั้งแรก ต้องสำรวจดูว่า ดินในหลุมใดยุบบ้าง ให้กลบดินเพิ่ม หากไม่กลบเมื่อฝนมาครั้งที่สอง ก็จะทำให้น้ำขังบริเวณโคนต้นซึ่งจะทำให้ต้นยางพาราตายได้
  3. หลังจากฝนครั้งแรกมาแล้ว ทิ้งช่วงนาน ฝนครั้งที่สองก็ยังไม่มาไม่มา ชาวสวนยางพาราก็ต้องมาสำรวจดูว่ามีหลุมใดบ้างที่ดินรอบ ๆ ต้นยางแตกหรือแยกเป็นวง ๆ ก็ให้กลบดินเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความชื้นระเหยออกจากหลุม ซึ่งก็อาจทำให้ต้นยางพาราเฉาหรือตายได้เช่นกัน
  4. คอยหมั่นดูแล หากพบต้นยางพาราตายต้องรีบปลูกซ่อมด้วยยางชำถุง 2 ฉัตร แต่ถ้าสวนยางมีอายุมากกว่า 2 ปีไปแล้ว ไม่ควรปลูกซ่อม แต่ถ้าต้องการปลูกซ่อมจริง ๆ ก็อาจทำได้โดยใช้ต้นยางพาราที่มีขนาดใก้ลเคียงกัน การปลูกซ่อมต้องกระทำก่อนฝนจะหมดไม่น้อยกว่า 2 เดือน
  5. ควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวต้นยางพาราเพื่อให้มีรายได้เสริมและเพื่อเป็นการคลุมดินไม่ให้มีวัชพืชโดยเฉพาะหญ้าคา หากปล่อยให้พื้นดินได้รับแสงแดด จะมีปัญหาในเรื่องหญ้าคาอย่างแน่นอน
  6. หากไม่ปลูกพืชแซม ก็ต้องปลูกพืชคลุมดิน เพื่อคลุมวัชพืช และยังเป็นการสร้างหรือใส่ปุ๋ยลงในดินโดยไม่ต้องขนปุ๋ย ไม่ต้องหว่านปุ๋ย พืชคลุมจะทำให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตได้ดี
  7. หากต้องการปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้ป่าร่วมยาง ก็สามารถปลูกได้ ไม่เกิน 15 ต้น/ไร่ ตามระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราห์การทำสวนยาง(หากท่านขอรับทุนฯ)
  8. กรณีปลูกด้วยยางชำถุง เมื่อต้นยางอายุครบ 1, 4 และ 6 เดือน ให้กำจัดวัชพืชโดยการถาก แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็ก สูตร 20-8-20 หรือสูตรอื่น เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 ตามอัตรา
  9. สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ซึ่งปลูกยางชำถุงอย่างเดียว เมื่อต้นยางอายุครบ 1 และ 6 เดือน ให้กำจัดวัชพืชโดยการถากแล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็กสูตร 20-10-12 ตามอัตรา โดยไม่แยกชนิดของดิน และในปีแรกนี้ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี (อาจใส่เมื่อต้นยางอายุครบ 6 เดือน)
  10. วิธีการใส่ปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นที่ราบ, ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันไดหรือที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยโดยโรยรอบโคนต้นในรัศมีพุ่มใบพร้อมพรวนดินกลบ หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี หรืออาจใช้เหล็กหุนแทงลงไปในดินให้ลึกพอเหมาะ จำนวน 4 หลุม หยอดปุ๋ยลงไปแล้วกลบก็ได้เช่นกัน
  11. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
  12. เมื่อต้นยางพาราอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ควรทำการตัดแต่งกิ่ง เมื่อมีการแตกกิ่งด้านข้างลำต้น ให้ใช้มีดหรือคัดเตอร์ค่อย ๆ ตัดออก ระวังอย่าให้โดนก้านใบ
  13. เมื่อสวนยางพาราเข้าสู่หน้าแล้ง ควรคลุมโคนต้นยางด้วยฟางข้าวหรือเศษวัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่น โดยเว้นระยะจากโคนต้นยางไว้ 5-10 ซม. หากจะคลุมทั้งแถวเลยโดยคลุมเป็นแถบกว้างข้างละ 1 เมตรจากแนวต้นยาง ก็จะรักษาความชื้นในดินได้ดีกว่าคลุมเฉพาะโคนต้น แต่ต้องระวังเรื่องไฟไห้มที่อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ  เช่น การทิ้งก้นบุหรี่ หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ

การจำแนกดูลักษณะใบของยางพารา

          การจำแนกพันธุ์ยางพารามี 2 วิธี คือ การจำแนกพันธุ์ยางพาราโดยสายตา โดยมองจากลักษณะภายนอกที่ยางพาราแต่ละพันธุ์แสดงออกมาให้เห็น และการจำแนกพันธุ์ยางพาราทางวิทยาศาสตร์ โดยการศึกษาและจัดทำลายพิมพ์ DNA แม้จะเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูง แต่มีขั้นตอนการปฎิบัติที่ยุ่งยาก ต้องใช้เวลา เสียค่าใช้จ่ายมาก จึงนิยมใช้วิธีการจำแนกพันธุ์ยางพาราด้วยสายตามากกว่า เพราะเป็นวีธีที่ตรวจสอบได้ง่าย และตรวจสอบได้จำนวนมาก สะดวกรวดเร็ว สามารถบอกชนิดของพันธุ์ยางได้ทันที การเป็นนักจำแนกพันธุ์ยางที่ประสบผลสำเร็จได้นั้น จึงต้องอาศัยการสังเกต หมั่นฝึกฝนเพิ่มความชำนาญ และที่สำคัญต้องมีหัวศิลป์ด้วย

          สำหรับวิธีจำแนกพันธุ์ยางพาราโดยสายตา นายศุภมิตร ลิมปิชัย นักวิชาการเกษตร  8 ว ศูนย์วิจัยยางสงขลา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัดสงขลา กรมวิชาการเกษตร ผู้มีความรู้ความสามารถ ควมชำนาญและมีประสบการณ์ในการจำแนกพันธุ์ยางมาหลายสิบยางพันธุ์ RRIT 251ปี เป็นวิทยากรมาหลายต่อหลายรุ่นได้กล่าวถึงเคล็ดลับในการจำแนกพันธุ์ยางโดยให้มองภาพรวม ๆ ที่เป็นลักษณะภายนอกของต้นยางพาราที่เห็นได้ชัดเจน จนถึงส่วนปลีกย่อยมาประกอบ การตัดสินใจว่าเป็นยางพันธุ์ใด เริ่มด้วยการดูรูปทรงของฉัตร ต่อมาให้ดูลักษณะใบ, กิ่งก้าน เปลือก, สีของน้ำยาง รวมทั้งลักษณะประจำพันธุ์ ควรดูว่ามีอะไรที่แปลกเป็นพิเศษ ทั้งหมดถือเป็นเทคนิค อย่างหนึ่งช่วยทำให้จดจำได้ดียิ่งขึ้น

การดูรูปทรงของฉัตร

          รูปทรงของฉัตร ให้พิจารณาฉัตรแก่ที่ 1-2 นับจากยอดว่ามีรูปทรงเป็นอย่างไร ที่พบเห็นมีอยู่ 4 ลักษณะ ได้แก่ รูปครึ่งวงกลม, รูปร่ม, รูปกรวย และรูปสามเหลี่ยมหรือรูปพีระมิด ซึ่งอาจมีทรงและขนาดแตกต่างกัน จำนวนใบในฉัตรมีมากหรือน้อยจนมองเห็นได้ชัดว่าโปร่ง หรืออัดแน่น หรือเป็นแบบฉัตรเปิดที่มองทะลุผ่านได้ หรือแบบฉัตรปิดที่ใบบนตกลงมาปิดใบล่างไม่สามารถมองทะลุผ่านฉัตรได้

การดูลักษณะของใบ

          ใบยางพาราประกอบด้วย ใบย่อย 3 ใบ ให้พิจารณาดูใบกลางของยางพาราแต่ละพันธุ์ ซึ่งอาจมีรูปร่างแตกต่างกันไป ยางพาราบางพันธุ์มีใบป้อมกลางใบ เช่น พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 และ พันธุ์ RRIM 600 ใบจะป้อมปลายใบ ส่วนยางพันธุ์ BPM 24 และ PB235 ใบจะป้อมกลางใบ จากนั้นให้พิจารณาดูว่า ฐานใบเป็นรูปลิ่ม หรือสอบเรียว มีปลายใบเรียวแหลม หรือติ่งแหลม มีขอบใบเรียบหรือเป็นรูปคลื่น มีแผ่นใบเรียบหรือขรุขระ ใบตัดตามขวางเป็นรูปตรง หรือเว้าเป็นท้องเรือ และตำแหน่งของขอบใบย่อยทั้ง 3 ใบ อยู่ในลักษณะแยกจากกัน, สัมผัสกัน หรือซ้อนทับกัน ก้านใบ ทำมุมกับลำต้นแบบไหน ตั้งฉาก, ทำมุมยกขึ้น หรือทำมุมทิ้งลง และรูปร่างของฐานก้านใบกลม, แบนราบ หรือฐานมีร่อง

ลักษณะใบยางพันธุ์ RRIM 600ลักษณะใบยางพันธุ์ RRIT 251

จากลักษณะสำคัญ ๆ ที่เห็นเพียงภายนอก ยังไม่รวมไปถึงลักษณะปลีกย่อย ก็พอบอกชนิดของพันธุ์ยางได้ แต่ถ้าจะให้เกิดความแม่นยำมากขึ้น ผู้จะเป็นนักจำแนกพันธุ์ยางที่ดีควรจะทราบลักษณะประจำพันธุ์ยางไว้เป็นแนวทางเพื่อให้ง่ายต่อการจำแนกพันธุ์ยาง ขอยกตัวอย่างพันธุ์ยางที่ผลิตเพื่อการค้า 4 พันธุ์ ดังนี้

พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251

          รูปทรงฉัตรเป็นครึ่งวงกลม ฉัตรเปิด ระยะระหว่างฉัตรห่าง ใบสีเขียวเป็นมัน ป้อมปลายใบ ใบตัดตามขวางเว้าเป็นรูปท้องเรือ ขอบใบหยักเป็นลอนคลื่น ก้านใบยาวทำมุมตั้งฉากกับกิ่งกระโดง ฐานก้านใบชั้นเดียว ลักษณะพิเศษคือกิ่งกระโดงคดและขอบใบเป็นลอนคลื่น

พันธุ์ RRIM 600

           รูปทรงฉัตรเป็นรูปกรวยขนาดเล็ก ฉัตรเปิด ใบสีเขียวอมเหลือง แผ่นใบเรียบ นิ่มลื่น ผิวใบมัน ขอบใบเรียบ ป้อมปลายใบ ปลายใบมีติ่งแหลมคล้ายใบโพธิ์ ก้านใบทำมุมยกขึ้น และใบทั้ง 3 ใบ อยู่ในแนวเดียวกัน ลักษณะพิเศษคือ ฐานก้านใบเป็นร่อง ตาอยู่ในฐานก้านใบ ฐานใบสอบเรียว

พันธุ์ BPM 24

          รูปทรงฉัตรครึ่งวงกลม ฉัตรเปิด ใบสีเขียวไม่เป็นมัน ป้อมกลางใบ ฐานใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ ก้านใบทำมุมเกือบตั้งฉากกับกิ่งกระโดง ก้านใบย่อยยาวทำมุมกว้างอยู่ในแนวเดียวกัน ลักษณะพิเศษคือ ใบกลางใหญ่กว่าใบทั้งสองข้าง และ ใบกลางมักยาวกว่าก้านใบ

พันธุ์ PB 235

          รูปทรงฉัตรคล้ายรูปพีระมิด ฉัตรเปิด ใบสีเขียวไม่เป็นมัน ใบกลางป้อมกลางใบคล้ายรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบรูปลิ่ม มีเส้นกลางใบสีเหลืองชัดเจน ก้านใบตั้งฉากกับกิ่งกระโดง ลักษณะพิเศษคือ บางฉัตรมักพบใบย่อย 4 ใบ เส้นกลางใบสีเหลืองชัดเจน ฉัตรที่ใบเพสลาดจะพบฐานก้านใบสีม่วง
นายศุภมิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ลักษณะประจำพันธุ์ยางและการจำแนกพันธุ์ยางพาราบวกกับเทคนิคเฉพาะตัวที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องหมั่นฝึกฝนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความชำนาญ ก็จะสามารถจำแนกพันธุ์ยางพาราได้อย่างถูกต้องแม่นยำไม่เฉพาะแต่ในแปลงปลูกเท่านั้น แม้แต่ในแปลงผลิตต้นยางชำถุงก็สามารถจำแนกได้เช่นกัน

แหล่งข้อมูล: พรรณพิชญา สุเสวี สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

ข้อคิดก่อนปลูกยางพารา

ข้อคิดก่อนปลูกยางพารา

ข้อควรพิจารณาในการตัดสินใจปลูกยางพารา

การขายยางที่ตลาดกลางยางพาราอำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลาราคายางพารา(ยางแผ่นดิบ) เฉลี่ยรายปี ณ ตลาดกลางยางพาราอำเภอหาดใหญ่นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา   ได้เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี จาก กิโลกรัมละ 22.52 บาท จนถึง กิโลกรัมละ 82.13 บาท ในปี 2551 นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับผู้ที่มีอาชีพทำสวนยางพารา และที่เป็นข่าวครึกโครมก็คือราคายางพารา ณ วันที่ 12-13 มิถุนายน 49 ที่สูงถึงกิโลกรัมละ 100.99 บาท  และเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 ราคายางแผ่นดิบ คุณภาพ 3 พุ่งขึ้นสูงถึง กิโลกรัมละ 183.64  บาท ส่วนยางแผ่นรมควัน ชั้น 3 กิโลกรัมละ 198.76  บาท  ปัจจุบัน (พ.ค. 54 ) ราคายางตกลงมาอยู่ที่ กิโลกรัมละประมาณ 150  บาท ขึ้นลงตามกลไกของตลาด สิ่งนี้ เป็นสาเหตุให้มีมือใหม่ในการปลูกสร้างสวนยางพาราเพิ่มมากขึ้น อย่างรวดเร็ว แต่นี่ก็ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่จะมีมือใหม่ในวงการนี้ มีหลายคนที่ไม่ได้ทำการเกษตรมาเลย แต่ต้องรับมรดกเป็นสวนยางพารา หรือข้าราชการหลายท่านที่มองหาสวนยางพาราไว้เป็นแหล่งรายได้และหลีกหนีความวุ่นวายจากสังคมเมืองในบั้นปลายของชีวิต, ตลอดจนพี่น้องเกษตรกรภาคกลาง-อีสาน-เหนือ ที่อยากจะเปลี่ยนอาชีพมาทำสวนยางพารา เพื่อความหวังใหม่ที่น่าจะดีกว่าชีวิตเดิม ๆ ไม่ว่าจะเป็นใคร หากท่านจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ในการลงทุนปลูกสร้างสวนยางพารา ข้อคิดที่ควรพิจารณา จึงน่าเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องยางพาราและปัญหาเรื่องยางพารา มากขึ้น
  1. ราคายางพาราขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่ปัจจัยหลัก คือ เรืองของ อุปสงค์(demand-คือ ปริมาณความต้องการสินค้า) และอุปทาน (supply-ปริมาณเสนอขายสินค้า) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้ใช้ยางที่สำคัญ เช่น จีน, สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, อินเดีย, มาเลเซีย, เกาหลีใต้ เป็นต้น หากภาวะเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะประเทศจีน ที่มีอัตราการขยายตัวของการใช้ยางมากที่สุดในปัจจุบันนี้ เป็นไปในทิศทางที่ดี การสั่งซื้อยางพาราจากไทย เพื่อนำเข้าประเทศเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ ก็จะเป็นการกระตุ้นราคายางพาราได้เป็นอย่าสวนยางพารา อายุประมาณ 5 ปีงดี (หลังจากที่จีนได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก หรือ WTO เมื่อปี 2544 ทำให้การลงทุนของบริษัทผลิตรถยนต์ และยางรถยนต์ขนาดใหญ่จากต่างประเทศหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศจีนมาก และเนื่องจากประเทศจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ จึงทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว)
  2. แม้ว่าทางรัฐบาลจะมีมาตรการรองรับหรือมีมาตรการในการรักษาระดับราคายางพาราไม่ให้ตกต่ำ เช่น การร่วมมือของ 3 ประเทศยักใหญ่ในการผลิตยางพารา คือ ไทย, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในการก่อตั้งบริษัทการค้าร่วม ก็ตาม แต่คงไม่มีใครรับรองได้ 100 % ว่าพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราจะไม่พบกับปัญหาราคายางพาราตกต่ำ เนื่องจากยางพาราเป็นสินค้าทางการเกษตรที่มีปัจจัยเกี่ยวข้องมากมาย และไม่อาจควบคุมการผลิตที่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติได้เช่นยางสังเคราะห์ ที่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม
  3. การได้เข้ามาเป็นรัฐบาลของพรรคการเมืองต่าง ๆ อาจส่งผลต่อราคายางพาราได้เช่นกัน แต่อยู่ในระดับหนึ่ง ปัจจัยที่มีผลมากจนทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงไปมาก ๆ คือเรือง อุปสงค์และอุปทาน และภาวะเศรษฐกิจโลก ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
  4. หากมีมาตรการควบคุมการเพิ่มพื้นที่ปลูกยางพาราของประเทศต่าง ๆ เพื่อให้การผลิตมีความสมดุลย์กับปริมาณการใช้ ราคายางพาราก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้น
  5. เกษตรกรควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยางพารา ซึ่งหาชมได้จาก วีดีโอการปลูกสร้างสวนยางพารา พร้อมกับเนื้อหาข้อมูลที่สำคัญมาก ๆ ซึ่งก็คือข้อมูลเกี่ยวกับตลาดยางพาราทั้งในประเทศและต่างประเทศ   ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ มีใน เว็บไซต์       


***ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.km.rubber.co.th  ****





วิธีสังเกตความอุดมสมบูรณ์ของดิน



การสังเกต (General Observation) ขนาดความเจริญเติบโต ลักษณะอาการขาดธาตุอาหารของพืชที่แสดงให้เห็น แต่วิธีการนี้ค่อนข้างล่าช้า อาจไม่ทันการเมื่อขาดธาตุที่สำคัญ

การวิเคราะห์พืช (Plant Analysis) วัดจากธาตุอาหาร ที่สะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของพืชเช่น ใบแก่ ก้านใบ เป็นต้น ก็จะเป็นตัวบ่งบอกธาตุอาหารในดินไ้ด้

การวิเคราะห์ดิน (Soil Analysis) เก็บตัวอย่างดิน มาวิเคราะห์หาธาตุอาหารโดยตรง

การปลูกพืชทดสอบในเรือนกระจก หรือในไร่ (Greenhouse or Field Experiments) นำดินที่เคราะห์ใส่ในกระถางแล้วปลูกพืช หรือทำในไร่ที่จะหาความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยเปรียบเทียบกับตัวเปรียบเทียบที่ความคุมธาุตุอาหารได้ครบ
สิ่งที่เกษตรกรมักจะคำนึงถึงคือความอุดมสมบูรณ์ของดิน (soil Fertility) ในแง่ของปริมาณแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ ว่ามีมากน้อยหรือไม่เท่านั้น ความจริงแล้วคุณสมบัติของดินที่ดี จะต้องรวมถึงคุณสมบัติทางกายภาพของดินด้วย เช่น การระบายน้ำ การถ่ายเทอากาศในดิน ความร่วนซุย ความอุ้มน้ำ และความลึกของหน้าดิน หรือคุณสมบัติในการตรึงธาตุอาหารของดิน เป็นต้น
ดังนั้นแม้ว่าดิน จะมีความอุดมสมบูรณ์ในแง่แร่ธาตุอหารมากเพียงใดก็ตาม หากมีคุณสมบัติทางกายภาพที่ไม่เหมาะสม พืชก็ไม่สามารถนำธาตุอาหารเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้
ดินบางชนิดเมื่อได้รับการปรับปรุง และจัดการเพียงเล็กน้อย พืชก็สามารถนำแร่ธาตุในดินไปใช้ได้ ในทางตรงกันข้าม ดินบางชนิดจะต้องได้รับการปรับปรุง และจัดการเป็นอย่างมาก เช่น การใส่ปุ๋ยเพิ่ม การให้นำ้ชลประทาน การระบายน้ำ และการใส่ปูนขาวปรับปรุงความเป็นกรดด่างของดินให้เหมาะสมเสียก่อน จึงจะนำแร่ธาตุอาหารไปใช้ได้ แต่มีดินบางชนิดตรึงธาตุอาหารไว้ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช

ปัจจัยที่ทำให้ดินเสื่อมคุณสมบัติทางเคมี และกายภาพ
·         ดินเสื่อมคุณสมบัติลง เมื่อสิ่งปกคลุมให้ความชุ่มชื้นถูกรื้อถอนออกไป ทำให้เกิดการชะล้างหน้าดิน สูญเสียธาตุอาหาร หรือเกิดการพังทะลายของหน้าดิน
·         ทำการเขตกรรมไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น การปลูกพืชเป็นแถว ไม่ขวางตามลาดเท หรือการเตรียมดินด้วยรถไถ ในทิศทางเดิม ระดับเดิม ซึ่งนานไปจะเกิดเป็นชันดินดาน

การแก้ไขปรับปรุงความเสื่อมทางเคมี และกายภาพของดิน
·         โดยการเติมธาตุอาหารที่พืช จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยเคมีมีปริมาณธาตุอาหารที่แน่นอนและจำนวนมาก แต่มีราคาแพง ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยที่หาง่าย แต่มีประมาณธาตุอาหารน้อย จึงต้องใ้ช้ในปริมาณที่มากกว่า และมีข้อดี คือช่วยทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น ปุ๋ยพืชสดส่วนมากมักใช้พืชตระกูลถั่วที่ปลูกแล้วไถกลบลงดิน
·         ปรับความเป็นกรดด่าง (pH) ของดินให้เหมาะสม ในกรณ๊ดินเป็นกรดจัดควรใส่ปูนขาว เพื่อปรับระดับ (pH) ให้เหมาะสมพืชธาตุอาหารบางชนิดถ้า pH ไม่เหมาะสมพืชก็ไม่สามารถดูดนำไปใช้ได้ นอกจากนี้ปูนขาว ยังช่วยปรับคุณสมบัติทางกายภาพ ของดินให้ดีขึ้น เช่น ทำให้ดินเหนียวไม่่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ทำให้ร่วนซุย มีการถ่ายเทอากาศดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มธาตุอาหาร เช่น Ca, Mn ให้แก่พืชโดยตรงอีกด้วย.


****อ้างอิงจาก ข้อมูลสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2554 สถาบันวิจัยยาง

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร
คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2554
. ยางพารา 32 (1) : 4-34 (2554)
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้เริ่มจัดทำคำแนะนำพันธุ์ยางแก่เกษตรกรตั้งแต่ปี 2504 และจะมีการเปลี่ยนแปลงคำแนะนำพันธุ์ยางทุก 4 ปี โดยพิจารณาจากพันธุ์ยางใหม่ที่ได้รับจากผลงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ยางสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูกยางที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการตอบสนองต่อวัตถุประสงค์การปลูกยางของเกษตรกร จากเดิมที่การปลูกยางจะมีวัตถุประสงค์ในด้านการเพิ่มผลผลิตน้ำยางเป็นหลัก มาเป็นการปลูกยางเพื่อน้ำยางและ/หรือเนื้อไม้ ดังนั้น ในคำแนะนำพันธุ์ยางฉบับใหม่ ปี 2554 นี้ จึงได้คัดเลือกพันธุ์ยางแนะนำให้เหมาะสมตามพื้นที่ปลูกยาง ได้แก่ พื้นที่ปลูกยางเดิมภาคใต้และภาคตะวันออก พื้นที่ปลูกยางใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และบางส่วนของภาคตะวันออก โดยกำหนดให้พันธุ์ยางที่แนะนำแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยาง พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้และพันธุ์ยางเพื่อผลผลิตเนื้อไม้ ให้เกษตรกรเลือกพันธุ์ได้ตามวัตถุประสงค์ของการปลูก
ปัจจัยที่พิจารณาในการเลือกใช้พันธุ์ยาง
 

บทความยางพารา

ต้นตอที่ได้มาตรฐาน

ต้นตอตาที่ได้มาตรฐาน

ต้นตอตายางโดยการสังเกตคุณสมบัตุของต้นตอตาด้วยตาเปล่า ให้ครบความตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้
    • รากแก้วจะต้องสมบูรณ์ เหยียดตรง ไม่ถลอกคดงอหรือบิดเบี้ยว ความยาววัดจากโคนคอดินจะต้องไ่ม่น้อยกว่า 20 ซม.
    • ลำต้นตรง สมบูรณ์ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง วัดตรงตาที่ติดไว้ จะต้องไม่น้อยกว่า 1.2 ซม. และไม่เกินกว่า 2.5 ซม.
    • ระยะจากตาถึงโคนคอดินจะต้องไม่เกิน 8 ซม. และวัดจากตาถึงรอยตัด (Cutting back) จะต้องไม่น้อยกว่า 8 ซม.
    • แผ่นตามีขนาดกว้างไม่เกิน 1.2 ซม. และยาวไม่น้อยกว่า 5 ซม. อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ติดอยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง เช่น ไม่กลับหัว ฯลฯ
    • ต้นตอตาต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและศัตรูพืช
    • ต้นตอตาที่มีรากคดงอเกิดจากการเตรียมพื้นที่และการปลูกไม่ปราณีตเพียงพอ
    • ต้นตอตาที่มีรากแก้วหลายรากโดยมากจะเป็นกับต้นยางสองใบที่ถอนปลูกซ่อม
    • ต้นตอตาที่แผ่นตาเสียบางส่วนแต่บริเวณตายังดีอยู่ การเสียของแผ่นตาบางส่วนอาจเกิดจากความสกปรกในขณะติดตาหรือ มีน้ำซึมเข้าไปได้บางส่วนก่อนเปิดตา
    • ต้นตอตาที่แผ่นตาเชื่อมสนิทกับลำต้นจนมองไม่เห็นแผ่นตา เนื่องจาก หลังจากติดตาแล้วปล่อยทิ้งไว้ในแปลงนานเกินไป ทำให้แตกตาช้าเมื่อนำไปปลูกในแปลงหรือนำไปเพาะชำ
    • ต้นตอตาที่แผ่นตาเชื่อมกับลำต้นไม่สนิททั้งแผ่น อาจเกิดจากการติดตาในหน้าแล้ง การให้ปุ๋ยไม่เพียงพอ และต้นตอไม่สมบูรณ์
    • ต้นตอตาที่มีขนาดเล็กหรือโตเกินกว่ากำหนด
    • ต้นตอตาที่ชอกช้ำจากการขุดถอนเช่น บริเวณเปลือกหรือรากช้ำ ถลอกเสียหาย ส่วนใหญ่มักเกิดกับต้นตอตาที่ขุดถอนในฤดูแล้ง
    • ต้นตอตาที่มีรากแก้วหักและสั้น
    • ต้นตอตาที่มีโรคและแมลงรบกวน.
   ต้นตอตาที่จะต้องคัดออก ต้่นตอตาที่คัดออก เนื่องจากมีข้อบกพร่องในข้อใดข้อหนึ่งจากต้นตอที่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะสังเกตข้างต้น

***อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.km.rubber.co.th/

คำแนะนำสำหรับผู้ปลุกยางใหม่

ข้อควรคำนึงสำหรับผู้เริ่มปลูกยาง 

1. ควรเตรียมพื้นที่ กำหนดระยะปลูก และเตรียมหลุมปลูกให้เสร็จเรียบร้อยภายในเดือนมีนาคม หรือต้นเดือนเมษายน 
2. ควรปลูกยางตั้งแต่ต้นฤดูฝน สำหรับผู้ที่ใช้ต้อตอตาปลูกควรปลูกให้เสร็จภายในเดือนพฤษภาคม แต่ถ้าใช้ยางชำถุงปลูก อาจยีดเวลาออกไปได้บางเล็กน้อย อย่างไรก็ตามควรปลูกให้เสร็จภายในเดือนมิถุนายน 
3. ในพื้นที่แห้งแล้ง ก่อนเข้าฤดูแล้งขณะที่ดินยังชื้นอยู่ควรใช้วัสดุ เช่น หญ้าแห้ง ฟางข้าว หรือเศษวัชพืชคลุมโคนต้นยางเพื่อรักษาความชื้นของดิน 
4. ควรตัดแต่งกิ่งแขนงข้างเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น ไม่ควรตัดในฤดูแล้ง การตัดแต่งกิ่งอย่าโน้มต้นยางลงมาตัดเพราะจะทำให้ส่วนของลำต้นเสียหาย 
5. เมื่อปลูกพืชแซมครบ 3 ปีแล้วต้องหยุดปลูก และปลูกพืชคลุมแทนทันที 
6. หมั่นดูแลบำรุงรักษาสวนยางตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะในฤดูแล้งควรกำจัดวัชพืช ในสวนยาง เพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้สวนยาง 
ปฎิทินการปลูกสร้างและดูแลรักษาสวนยางพารา 
 
หากเกษตรกรชาวสวนยาง มีปัญหาในการประกอบอาชีพการทำสวนยาง โปรดสอบถามหรือขอคำปรึกษาแนะนำได้ที่ 
- เกษตรตำบล 
- เกษตรอำเภอ 
- เกษตรจังหวัด 
ที่ประจำปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ที่สวนยางหรือบ้านเรือนของท่านตั้งอยู่ หรืออาจสอบถามโดยตรงไปที่กลุ่มยางพารา กองส่งเสริมพืชสวนกรมส่งเสริมการเกษตร ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ (02) 5793801 


อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.doae.go.th/

หลักเบี้องต้นสำหรับการทำแผ่นยางดิบคุณภาพดี

หลักเบื้องต้นในการทำยางแผ่นดิบคุณภาพดี

น้ำยางพารา"ทำการเติมน้ำสะอาดลงในน้ำยางสดที่กรองแล้ว 1 เท่าตัว คนให้เข้ากัน ในกรณีที่เป็นน้ำยางจากต้นยางที่เพิ่งเปิดกรีดปีแรก ๆ ก็ควรผสมน้ำให้น้อยลง เป็นน้ำยาง 3 ส่วน น้ำ 2 ส่วน จากนั้นตวงส่วนผสมของน้ำยางและน้ำนี้ใส่ตะกง ๆ ละ 5 ลิตร แล้วผสมน้ำกรดฟอร์มิคในอัตราน้ำกรด 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 3 กระป๋องนม กวนน้ำยางด้วยที่กวน 1-2 เที่ยว แล้วค่อย ๆ เทส่วนผสมของน้ำกรดฟอร์มิค 1 กระป๋องนมต่อน้ำยาง 1 ตะกง"
ข้อความข้างต้น เป็นคำแนะนำที่เรามักพบเห็นจนชินตา ซึ่งก็เป็นคำแนะนำที่ง่ายและเข้ากับเกษตรกรชาวสวนยางพาราเป็นอย่างดี แต่ถ้าหากว่า เป็นเจ้าของสวนยางพาราที่มีสวนยางมากขึ้นต้องการทำยางแผ่นดิบด้วยตะกงตับ หรือเป็นผู้ที่คิดจะทำธุรกิจรับซื้อน้ำยางสดมาทำเป็นยางแผ่นดิบเพื่อขาย จำเป็นต้องใช้ตะกงตับ อัตราส่วนน้ำ,น้ำยาง,น้ำกรดฟอร์มิก ที่แนะนำ ก็คงจะใช้ไม่ได้ เราลองมาวิเคราะห์คำแนะนำข้างต้นเพื่อสร้างเป็นหลักการที่ดูเป็นวิชาการและสามารถนำไปใช้ได้ทั่วไป
  1. "ทำการเติมน้ำสะอาดลงในน้ำยางสดที่กรองแล้ว 1 เท่าตัว" เรื่องความเข้มข้นของน้ำยางสดโดยทั่วไปจะคิดว่าน้ำยางสดมีความเข้มข้นประมาณ 30 % ถ้าเติมน้ำลงไป 1 เท่าตัว ก็จะทำให้น้ำยางมีความเข้มข้นลดลงเหลือ 15 % นั่นก็คือว่า ในการทำยางแผ่นดิบคุณภาพดี ควรผสมน้ำสะอาดลงไปให้น้ำยางเหลือความเข้มข้น 15 % หรือ 12.5 % ก็ได้(ยิ่งน้ำมากแผ่นยางยิ่งมีสีเหลืองสวยและคุณภาพยางก็ดีด้วย)
  2. น้ำกรดฟอร์มิค"ผสมน้ำกรดฟอร์มิคในอัตราน้ำกรด 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 3 กระป๋องนม" เรื่องความเข้มข้นของน้ำกรดฟอร์มิก โดยทั่วไปจะมีความเข้มข้น 90 % (มีตั้งแต่ 85-94 %) กรดฟอร์มิก 2 ช้อนแกง เท่ากับ 24 ซีซี น้ำ 3 กระป๋องนม เท่ากับ 900 ซีซี นั่นก็คือว่า
    น้ำ 900 ซีซี มีจำนวนกรดฟอร์มิกอยู่ 24 ซีซี
    ถ้าน้ำ 100 ซีซี จะมีจำนวนกรดฟอร์มิกอยู่ 24/900x100 ซีซี
    นั่นคือ ในน้ำ 100 ซีซี จะมีจำนวนกรดฟอร์มิกอยู่ เท่ากับ 2.66 ซีซี หรือมีเนื้อกรดจริงเพียง 2.4 กรัม-เนื่องจากเป็นกรด 90%
    หรือสรุปง่าย ๆ ว่า ต้องทำสารละลายกรดฟอร์มิกให้มีความเข้มข้น 2.0-2.5 % ก่อนนำไปใช้ (การที่ทำให้กรดเจือจางมากขึ้นก็จะส่งผลให้น้ำกรดผสมกับน้ำยางได้ดีอย่างทั่วถึงและรวดเร็วขึ้น)
  3. "ค่อย ๆ เทส่วนผสมของน้ำกรดฟอร์มิค 1 กระป๋องนมต่อน้ำยาง 1 ตะกง(5 ลิตร)" จากข้อ 1 น้ำยางความเข้มข้น 15 % ถ้า 1 ตะกงหรือ 5 ลิตร
    คำนวณเป็นเนื้อยางแห้งแล้วได้เท่ากับ 750 กรัม
    จากข้อ 2 กรดฟอร์มิกที่มีใน1 กระป๋องมีกรดอยู่ 8 ซีซี
    แต่กรดนี้เป็นกรด 90 % นั่นก็คือว่า
    กรดฟอร์มิค จำนวน 100 ซีซี มีเนื้อกรดอยู่จริง เท่ากับ 90 กรัม
    ถ้ากรดฟอร์มิค เพียง 8 ซีซี จะมีเนื้อกรดอยู่จริง เท่ากับ 90/100x8 กรัม
    เท่ากับ 7.2 กรัม
    แสดงว่า
    เนื้อยางแห้ง 750 กรัม ต้องใช้เนื้อกรดฟอร์มิค 7.2 กรัม
    ถ้าเนื้อยางแห้ง 100 กรัม ต้องใช้เนื้อกรดฟอร์มิค 7.2/750x100 กรัม
    เท่ากับ 0.96 กรัม นั่นคือ
    ต้องใช้เนื้อกรดจริง 0.4-0.9 % ของเนื้อยางแห้ง (การใช้เนื้อกรดจริงน้อย ระยะเวลาในการแข็งตัวก็จะนานขึ้น เช่น ถ้าใช้เนื้อกรดจริง 0.4 % ของเนื้อยางแห้ง ก็ทิ้งไว้รีดพรุ่งนี้ได้ แต่ถ้าใช้เนื้อกรดจริง 0.9 % ยางจะแข็งตัวพอดีภายใน 30-45 นาที)
สรุปทั้ง 3 ข้อ ก็คือ ในการทำยางแผ่นดิบคุณภาพดี นอกจากจะต้องรักษาความสะอาดในทุกขั้นตอนแล้ว ก็ควรผสมน้ำให้น้ำยางมีความเข้มข้น 12.5-15 % จากนั้นผสมสารละลายของน้ำกรดฟอร์มิคที่มีความเข้มข้น 2.0-2.5 % ในอัตรา 0.4-0.8 % ของเนื้อยางแห้ง
เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ คนที่เคยเรียนวิชาเคมีมาบ้างก็คงจะนึกถึง
M1V1 = M2V2 equation.
โดย M =ความเข้มข้น  และ V=ปริมาตร

สูตรนี้มีประโยชน์ในการใช้เตรียมสารละลายต่าง ๆ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของสาร หรือปริมาตรของสารที่จะใช้
ตัวอย่างที่ 1: มีกรดฟอร์มิกชนิด 90% อยู่แล้ว 1 ถัง อยากทราบว่าต้องแบ่งกรดฟอร์มิกมากี่ลิตร เพื่อใช้ทำสารละลายกรดฟอร์มิกความเข้มข้น 2.5 % จำนวน 12 ลิตร
วิธีทำ     จากสูตร M1V1 = M2V2 
 แทนค่า                 90V1 = 2.5x 12                        
                              90V1 = 30                            
                                  V1 = 30/90                             
                                  V1 = 30/90                            
                                  V1 = 0.333
หรือ
ต้องแบ่งกรดฟอร์มิกมา = 0.333 ลิตร หรือ 333 ซีซี แล้วผสมน้ำ 12 ลิตร นั่นเอง

ตัวอย่างที่ 2: เก็บน้ำยางสดจากสวนยางมาได้ 40 ลิตร มีความเข้มข้น 34% ต้องการผสมน้ำให้น้ำยางมีความเข้มข้นลดลงเหลือ 15% จะได้น้ำยางกี่ลิตร
(และต้องผสมน้ำกี่ลิตร)
วิธีทำ     จากสูตร M1V1 = M2V2 
  แทนค่า               34x40 = 15x V2                           
                               1360 = 15x V2                              
                                   V2 = 1360/15                              
                                   V2 = 90.6
หรือ
จะได้น้ำยางที่มีความเข้มข้น 15 % จำนวน 90.6 ลิตร หรือต้องผสมน้ำเพิ่มไปอีก  50.6 ลิตร นั่นเอง


ขอบคุณข้อมูลมาจาก http://www.live-rubber.com/

การปลูกยางพารา


ขอเชิญชมวีดีโอ การปลูกยางพารา โดยละเอียด โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

ระยะเวลาและอัตราการให้ปุ๋ย

ระยะเวลาและอัตราการใส่ปุ๋ย

          ต้นยางก่อนเปิดกรีด ในระยะตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนถึงต้นยางอายุประมาณ 17 เดือน จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยให้บ่อยครั้งในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของต้นยางหลังจากที่ต้นยางมีอายุ
เกิน 17 เดือนขึ้นไปแล้ว จะใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ดังแสดงไว้ในตารางที่5 และ6

ตารางที่ 5 แสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก

ตารางที่ 6 แสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



หมายเหตุ เดือนที่ใส่ปุ๋ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
ต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว จะใส่ปุ๋ย 2 ครั้งในอัตรา 1-1.2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี (แล้วแต่สูตรปุ๋ยที่ใช้) โดยใส่ครั้งแรกหลังจากที่ยาง
ผลัดใบแล้วในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม ครั้งที่สองใส่ในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม

ดังแสดงไว้ในตารางที่ 7
ตารางที่ 7 แสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับยางที่เปิดกรีดแล้ว



หมายเหตุ ยางแก่ก่อนโค่น 3-5 ปี ควรงดใส่ปุ๋ย

ระยะการปลูก

ระยะปลูก

ระยะปลูก
     1. พื้นที่ราบ
ถ้าต้องการปลูกพืชแซมในระหว่างแถวของต้นยาง
          - ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร จะได้จำนวน 80 ต้นต่อไร่
          - ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่
ถ้าต้องการปลูกพืชคลุมดินในระหว่างแถวของต้นยาง
          - ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่
          - ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร จะได้จำนวน 88 ต้นต่อไร่

  2. พื้นที่ลาดหรือพื้นที่เชิงเขา

          ตั้งแต่ความชัน 15 องศาขึ้นไปต้องทำแนวขั้นบันไดโดยใช้ระยะระหว่างขั้นบันไดอย่างน้อย 8 เมตร ระยะระหว่างต้น 2.50 หรือ 3 เมตร
เมื่อกำหนดระยะปลูกได้แล้วก็ทำการวางแนวและปักไม้ทำแนวเพื่อขุดหลุมปลูกต่อไป แนวปลูกควรวางตามทิศทางลม

วิธีปลูก
          การปลูกยางพาราจะแตกต่างกันไปตามชนิดของต้นพันธุ์ยางซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการปลูกด้วยต้น ตอตาและต้นยางชำถุงเท่านั้น เนื่องจากการปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษามาก จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมทำกันในปัจจุบัน

1. การปลูกด้วยต้นตอตา
นำดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุมแล้วกลบหลุมให้เต็มด้วยดินล่าง จากนั้นใช้เหล็กหรือไม้แหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาเล็กน้อยปักนำเป็นรูตรงกลางหลุมให้ลึกเท่ากับ ความยาวของรากแก้ว แล้วนำต้นตอปักลงไป กดดินให้แน่น พูนดินบริเวณโคนต้นเล็กน้อยอย่าให้กลบแผ่นตา พยายามให้รอยต่อระหว่างรากกับลำต้นอยู่ระดับปากหลุมพอดี

2. การปลูกด้วยต้นยางชำถุง
     2.1 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกและภาคใต้
นำดินที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุม จากนั้นนำต้นยางชำถุงไปตัดดินที่ก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอแล้ววางลงไปในหลุม โดยให้ดินปากถุงหรือรอยต่อระหว่างลำต้นและรากอยู่ในระดับพื้นดินปากหลุมพอดี ถ้าต่ำเกินไปให้ใส่ดินรองก้นหลุมเพิ่ม หรือถ้าสูงเกินไปให้เอาดินในหลุมออก จัดต้นยางให้ตรงกับแนวต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินล่างที่เหลือลงไปจนเกือบเต็มหลุม อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆดึงถุงพลาสติกที่กรีดไว้แล้วออกอัดดินข้างถุงให้แน่น แล้วกลบดินเพิ่มจนเต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง พูนโคนเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขัง จากนั้นปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางไว้เพื่อป้องกันลมโยก

     2.2 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ให้ปลูกแบบลึก โดยใช้มีดคมๆ ตัดดินก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอจากนั้นวางยางชำถุงลงในหลุมปลูกให้ถุงแนบชิดกับดินเดิมก้นหลุมจัดต ให้ตรงแนวกับต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตแล้วลงในหลุมประมาณครึ่งหนึ่งของถุง อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆ ดังถุงพลาสติกที่กรีดไว้ออก อัดดินที่ถมข้างถุงให้แน่นแล้วกลบดินเพิ่มให้เต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง หลังจากปลูกต้นยางชำถุงเสร็จแล้ว ควรปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางเพื่อป้องกันลมโยกและหาเศษวัชพืชคลุมดินบริเวณโคนต้นไว้ด้วย

โรคและแมลงศัตรูยางพารา

โรคและแมลงศัตรูยางพารา

1. โรครากขาว
เป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่งที่เกิดจากเชื้อรา เกิดขึ้นได้กับยางทั่วไปทั้งยางอ่อนและยางแก่

ลักษณะอาการ
          จะสังเกตเห็นพุ่มใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้ม ใบร่วงหมดทั้งต้น ขอบใบม้วนเข้าด้านใน ถ้าตรวจดูที่รากจะเห็นเส้นใยของเชื้อราแตกสาขาเป็นร่างแหจับติดแน่นและแผ่คลุมผิวรากที่เป็นโรค ลักษณะของเส้นใย มีสีขาวปลายแบน เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะนูนกลมและกลายเป็นสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลแห้งซีด ในช่วงที่มีฝนตกจะมีดอกเห็ดเกิดขึ้นตรงบริเวณโคนต้นหรือส่วนรากที่โผล่พ้นดิน ลักษณะดอกเห็ดจะซ้อนกันหลายชั้น ผิวบนสีเหลืองแกมส้ม ขอบสีขาว ส่วนผิวล่างมีสีส้มแดงหรือน้ำตาล ถ้าตัดดอกเห็นตามขวางจะเห็นชั้นบนเป็นสีขาวและชั้นล่างเป็นสีน้ำตาลแดงชัดเจน

การป้องกันและรักษา
1. การเตรียมพื้นที่ปลูกยางจะต้องทำการถอนรากและเผาทำลายตอไม้ ท่อนไม้ให้หมด เพื่อทำลายเชื้อราอันอาจทำให้เกิด
โรครากขาวได้
2. หลังจากปลูกยางไปแล้วประมาณ 1 ปี หมั่นตรวจดูต้นที่เป็นโรค หากไม่พบต้นที่เป็นโรคให้ป้องกันด้วยการทาสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% เคลือบไว้ที่โคนต้นตรงคอดิน รากแก้ว และฐานของรากแขนงแขนง
3. หากพบต้นที่เป็นโรคบริเวณโคนต้น โคนรากและรากแขนงให้ตัดหรือเฉือนทิ้ง แล้วทาด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% ผสมน้ำและควรทำการตรวจซ้ำในปีต่อไป
4. ถ้าพบโรครากขาวในต้นยางอายุน้อยให้ทำการขดรากที่เป็นโรคขึ้นมาเผาทำลาย
________________________________________

2. โรคเส้นดำ
เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า เป็นโรคที่ทำอันตรายต่อหน้ากรีดยางมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่มีความชื้นสูง ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุนแรงจนกรีดซ้ำหน้าเดิมไม่ได้ ต้นยางจึงให้ผลผลิตสั้นลงโดยอาจกรีดได้เพียง 8-16 ปีเท่านั้น

ลักษณะอาการ
          จะปรากฏอาการเหนือรอยกรีด โดยในระยะแรกเปลือกจะซ้ำมีสีผิดปกติ ต่อมารอยช้ำจะเปลี่ยนเป็นรอยบุ๋มสีดำ ขยายตัวในแนวตั้ง ถ้าเฉือนเปลือกออกดูจะพบลายเส้นดำบนเนื้อไม้ อาการในขั้นรุนแรงจะทำให้เปลือกบริเวณนั้นปริและมีน้ำยางไหลตลอดเวลา เปลือกจะเน่าหลุดไปในที่สุด เปลือกงอกใหม่จะมีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่า ทำให้กรีดยางต่อไปไม่ได้

การป้องกัน
1. อย่าเปิดหน้ายางหรือขึ้นหน้ายางใหม่ในระหว่างฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีฝนตก และอย่ากรีดลึกจนถึงเนื้อไม้เพราะจะทำให้หน้ายางเสียหาย โอกาสที่เชื้อจะเข้าทำลายมีมากขึ้น
2. ตัดแต่งกิ่งยางและปราบวัชพืชให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก จะช่วยให้หน้ายางแห้งเร็วขึ้น และเป็นการลดความรุนแรงของโรคได้
3. การกรีดยางในฤดูฝนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่มีโรคใบร่วงระบาด ควรทาหน้ายางด้วยสารเคมีชนิดเดียวกับที่ใช้รักษา

การรักษา
          เมื่อพบหน้ากรีดยางเริ่มแสดงอาการให้ใช้สารเมตาแลคซิลอัตรา 7-14 กรัม (1/2 - 1ช้อนแกง) ต่อน้ำ 1 ลิตร ผสมสารแผ่กระจายและจับติด จำนวน 2 ซี.ซี. ( ฝ ช้อนชา) ใช้สารอย่างใดอย่างหนึ่งทาหน้ากรีดยางทุก 7 วัน ประมาณ 3-4 ครั้ง จะสามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้แต่ถ้าหากฝนตกชุกติดต่อกันควรทาสารเคมีต่อไปอีกจนกว่าโรคนี้จะหาย
________________________________________

3. โรคเปลือกเน่า
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ระบาดรุนแรงมากในฤดูฝน ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุ่นแรงจนกรีดซ้ำไม่ได้

ลักษณะอาการ
           ระยะแรกจะเป็นรอยบุ๋มสีจางบนเปลือกงอกใหม่เหนือรอยกรีดต่อมาแผลนั้นจะมีเส้นใยของเชื้อราสีเทา ขึ้นปกคลุม และขยายลุกลามเป็นแถบขนานไปกับรอยกรีด ทำให้เปลือกบริเวณดังกล่าวนี้เน่าหลุดเป็นแว่น เหลือแต่เนื้อไม้สีดำ

การป้องกัน
1. เนื่องจากโรคนี้มักเกิดในแหล่งปลูกยางที่มีความชื้นสูงมาก ๆ ดังนั้นจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชในสวนยางเป็นประจำเพื่อให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ความชื้นในแปลงยางจะได้ลดลง
2. ถ้าพบว่าต้นยางเป็นโรคเปลือกเน่า ควรหยุดกรีดยางประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันมิให้เชื้อแพร่ไปติดต้นอื่น
________________________________________

4. โรคเปลือกแห้ง
สาเหตุสำคัญเกิดจากสวนยางขาดการบำรุงรักษา และการกรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป จึงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีอาหารไม่พอเลี้ยงเปลือกยางบริเวณนั้นจึงแห้งตาย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการผิดปกติภายในทอน้ำยางเองด้วย

ลักษณะอาการ
          หลังจากกรีดยางแล้ว น้ำยางจะแห้งเป็นจุดๆ ค้างอยู่บนรอยกรีดเปลือกยางมีสีน้ำตาลอ่อน ถ้ายังกรีดต่อไปอีก เปลือกยางจะแห้งสนิทไม่มีน้ำยางไหล เปลือกใต้รอยกรีดจะแตกขยายบริเวณมากขึ้นจนถึงพื้นดินและ หลุดออก เนื่องจากเปลือกงอกใหม่ภายในดันออกมา

การป้องกันและรักษา
          โรคนี้มักจะเกิดบนรอยกรีด ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการดูแลรักษาจะลุกลามทำให้หน้ากรีดเสียหายหมด ดังนั้นวิธีการลดและควบคุมโรคกับต้นยางที่เปิดยางแล้ว จึงใช้วิธีทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกันและเมื่อตรวจพบยางต้นใดที่เป็นโรคนี้เพียงบางส่วน จะต้องทำร่องโดยการใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม้โดยรอบบริเวณที่เป็นโรค โดยให้ร่องที่ทำนี้ห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ 2 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ แต่ในการกรีดต้องเปิดกรีดต่ำลงมาจากบริเวณที่เป็นโรค เปลี่ยนระบบกรีดใหม่ให้ถูกต้องและหยุดกรีดในช่วงผลัดใบ
การเอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูกใส่ปุ๋ยถูกต้องตามจำนวน และระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้อง จะช่วยป้องกันมิให้ยาวเป็นโรคเปลือก แห้งได้มาก


________________________________________

5. โรคใบร่วงและผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า

ลักษณะอาการ
          ผลที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ส่วนอาการที่ใบจะพบว่าใบร่วงทั้ง ๆ ที่ยังมีสีเขียวมีรอยช้ำสีดำอยู่ที่ก้านใบและตรงกลางรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะติดอยู่ด้วย ถ้านำใบยางที่ร่วงมาสลัดเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที โรคนี้จะสัมพันธุ์กับโรคเส้นดำด้วย เนื่องจากเกิดจากเชื้อชนิดเดียวกัน เมื่อเกิดโรคนี้จะทำให้ใบร่วงโกร๋นทั้งสวน ผลผลิตยางจะลดลงแต่ก็ไม่ทำให้ต้นยางตาย

การป้องกันและรักษา
          ควรเลือกปลูกพันธุ์ยางที่ต้านทานโรคนี้ ถ้าเป็นยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 ซึ่งอ่อนแอต่อโรคใบร่วงควรติดตาเปลี่ยนยอดด้วยพันธุ์ทีจี 1 และในสวนยางที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ใช้แคปตาโฟล 80% ในอัตรา 2 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีดพุ่มใบทุกสัปดาห์ในระหว่างที่โรคกำลังระบาด ส่วนในสวนยางที่มีต้นยางขนาดใหญ่การใช้สารเคมีป้องกันจะไม่คุ้มค่าใช้จ่าย จึงไม่แนะนำให้ทำแต่จะแนะนำให้ใช้วิธีป้องกันรักษาโรคเส้นดำที่บริเวณหน้ากรีดแทน และหยุดกรีดระหว่างที่เกิดโรคระบาดเท่านั้น
________________________________________

6. ปลวก
          จะทำลายต้นยางโดยการกัดกินส่วนรากและภายในลำต้นจนเป็นโพรง ทำให้ต้นยางยืนต้นตายโดยไม่สามารถสังเกตเห็นจากภายนอกได้จนกว่าจะขุดรากดู

การป้องกันและรักษา
          ใช้สารเคมีกำจังแมลง ได้แก่ ออลดริน ดีลดริน เฮพตาคลอ หรือ คลอเดนในรูปของเหลว ราดที่โคนต้นให้ทั่วบริเวณรากของต้นที่ถูกทำลายและต้นข้างเคียง
________________________________________

7. หนอนทราย
          เป็นหนอนของด้วงชนิดหนึ่งลักษณะลำตัวสั้นป้อม ใหญ่ขนาดนิ้วชี้ สีขาวนวล มีจุดเป็นแถวข้างลำตัว เมื่อนำมาวางบนพื้นดินตัวหนอนจะงอคล้ายเบ็ดตกปลา หนอนทรายจะเริ่มทำลายรากต้นยางขนาดเล็ก มีพุ่มใบ 1-2 ฉัตร ทำให้พุ่มใบมีสีเหลืองเพราะระบบรากถูกทำลายเมื่อขุดต้นยางต้นนั้นมาดูจะพบตัวหนอนทราย
________________________________________

8. โคนต้นไหม้
          เป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งจัดและถูกแสงแดดเผา ทำให้โคนต้นยางตรงรอยติดตาทางทิศตะวันตกมีอาการไหม้ เปลือกไหม้ เปลือกแห้ง อาการจะลุกลามไปทางส่วนบนและขยายบริเวณไปรอบๆ ต้น จนแห้งตาย

การป้องกันและรักษา
          ควรปลูกยางเป็นแถวในแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกก่อนเข้าฤดูแล้งให้ใช้ปูนขาวทารอบโคนต้น จากระดับ พื้นดินสูงขึ้นไปจนถึงระดับ 1 เมตร แล้วใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นและใช้สีน้ำมันทารอยแผล
________________________________________

9. อาการตายจากยอด
          อาการตายจากยอดมักเกิดกับยางอายุระหว่าง 1-6 ปี หลังจากประสบกับปัญหาสภาพอากาศแห้งแล้งจัดเป็นเวลานานติดต่อกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความร้อนระอุของพื้นดิน ตลอดจนพิษตกค้างของสารเคมีในดิน เช่น สารเคมีปราบวัชพืช สารกำจัดตอ หรือใส่ปุ๋ยมากเกินไป ฯลฯ ในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น มีชั้นของหินแข็งหรือดินดานอยู่ใต้ดินอาการตายจากยอดจะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนหลังจากปลูกยางไปแล้ว 3 ปี

ลักษณะอาการ

          กิ่ง ก้าน ยอด จะแห้งตายจากปลายกิ่ง ปลายยอด แล้วลุกลามลงมาทีละน้อย ๆ จนถึงโคนต้น และยืนต้นตายในที่สุด แต่ถ้าผ่านสภาวะแห้งแล้งไปแล้วต้นยังไม่ตาย ลำต้นหรือส่วนที่ยังไม่ตายจะแตกกิ่งแขนงออกมาใหม่ สำหรับส่วนที่แห้งตายไปแล้ว เปลือกจะล่อนออกถ้าแกะดูจะปรากฏเชื้อราเกิดขึ้นซ้ำทั่วบริเวณเปลือกด้านใน
การป้องกันและรักษา
ถ้าสภาพดินเลวและแห้งแล้งจัดอาจให้น้ำช่วยตามความจำเป็น หรือใช้วัสดุคลุมโคนต้นจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นและลดความรุนแรงของอาการตายจากยอดได้ ควรให้ปุ๋ยตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ย

          สูตรปุ๋ยยางพาราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้อยู่ในปัจจุบันมี 6 สูตร แต่ละสูตรจะเหมาะสมกับเนื้อดิน และอายุของ ต้นยางแตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในตารางที่ 3

ตารางที่ 3 แสดงสูตรปุ๋ยที่มีความเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยาง  ปุ๋ยสูตรที่ สูตรปุ๋ย ชนิดของดิน อายุของต้นยาง


หมายเหตุ
- ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยเม็ดเป็นค่าของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
- ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยผสมเป็นค่าของฟอสฟอรัสทั้งหมด
- ดินทราย คือดินที่มีเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย อุ้มน้ำไม่ดี ถูกชะล้างได้ง่ายตรึงธาตุอาหารได้น้อย
มีโปแตสเซียมต่ำ
-ดินร่วน คือดินที่มีเนื้อดินละเอียดพอสมควร อุ้มน้ำได้ดี มีการระเหยน้ำและถ่ายเทอากาศพอเหมาะ
ตรึงธาตุอาหารได้มากพอสมควร มีโปแตสเซียมตั้งแต่ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ
- ปุ๋ยเม็ด คือปุ๋ยที่ได้จากการนำวัตถุดิบให้กำเนิดปุ๋ยไปผ่านกรรมวิธีการผลิตทางเคมีตามขั้นตอนต่างๆ
ปุ๋ยที่ได้จะเป็นเนื้อเดียวกัน ปุ๋ยแต่ละเม็ดจะมีองค์ประกอบของธาตุเหมือนๆ กัน เช่นปุ๋ยสูตร 15-7-18, 15-15-15 จัดเป็นปุ๋ยเคมีตามพระราชบัญญัติปุ๋ย เป็นปุ๋ยที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดและมีผู้นิยมใช้มากที่สุด
- ปุ๋ยผสม คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำแม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเชิงเดี่ยวมาผสมด้วยวิธีกลโดยไม่ผ่านกรรมวิธีทางเคมี เช่น
นำเอาปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยร้อคฟอสเฟตและปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์มาผสมคลุกเคล้ากันในอัตราส่วนต่างๆ เพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารตามต้องการ แล้วนำไปใช้ทันที เป็นต้น
ปุ๋ยผสมสำหรับสวนยางจะใช้แม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตร้อคฟอสเฟตและโปแตสเซียมคลอไรค์ผสมกันในอัตราส่วน
ที่แตกต่างกันไปตามสูตรปุ๋ยทั้ง 6 สูตร ดังแสดงไว้ในตารางที่ 4

ตารางที่ 4 แสดงปริมาณธาตุอาหารและส่วนผสมของแม่ปุ๋ยในปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ อัตรา 100 กิโลกรัม


หมายเหตุ - ควรผสมปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์ โดยคลุกเคล้าแม่ปุ๋ยที่ใช้ผสมให้สม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อผสมแล้ว ควรใช้ทันที ปุ๋ยจะไม่แข็งตัว และควรผสมให้ใช้หมดภายในครั้งเดียว

วิธีการใส่ปุ๋ย

          วิธีการใส่ปุ๋ยที่ดีจะต้องเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติใส่แล้วพืชสามารถ ดูดไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด โดยมีวิธีการใส่ปุ๋ยดังนี้

          ใส่รองพื้น- นิยมใช้ปุ๋ยร้อคฟอสเฟต ซึ่งเป็นปุ๋ยที่เคลื่อนไหวได้ยาก เพราะถูกตรึ่งด้วยแร่ธาตุต่างๆ ในดิน โดยคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินแล้วใส่ลงในหลุมก่อนปลูกยาง

          ใส่แบบหว่าน - เป็นการหว่านปุ๋ยให้ทั่วบริเวณที่ใส่ปุ๋ย เหมาะสำหรับใช้กับพื้นที่ที่เป็นที่ราบ และมีการกำจัดพืชด้วยสารเคมีเพราะเศษซากพืชที่เหลือจะช่วยป้องกัน การชะล้างปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตก แต่ถ้าเป็นที่ราบที่กำจัดพืชด้วยวิธีถาก ควรคราดให้ปุ๋ยเข้ากับดินด้วย เพื่อป้องกันน้ำฝนชะล้างปุ๋ย

          ใส่แบบเป็นแถบ - เป็นการใส่ปุ๋ยโดยโรยเป็นแถบไปตามแนวแถว ต้นยางในร่องที่เซาะไว้ แล้วกลบ วิธีนี้จะใช้กับต้นยางที่มีอายุ 17 เดือนขึ้นไป และยังเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อยหรือพื้นที่ทำขั้นบันได้ด้วย

          ใส่แบบเป็นหลุม - เป็นการใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุมบริเวณรอบโคนหรือสองข้าง ของต้นยางประมาณ 2-4 หลุมต่อต้น แล้วใส่ปุ๋ยลงในหลุมกลบให้เรียบร้อย เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ลาดเท และไม่ได้ทำขั้นบันได

          นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงเพื่อให้การใส่ปุ๋ยม ีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือ ควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งหรือฝนตกชุกมากเกินไป และควรกำจัดพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง ถ้าต้องการให้ต้นยางสมบูรณ์ แข็งแรง เจริญเติบโตดีสามารถเปิดกรีดได้เร็ว ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะต้องมีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นยางสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงก่อนโค่น 3-5 ปี โดยปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

ชนิดของต้นพันธุ์ยาง

ชนิดของต้นพันธุ์ยาง

          1. ต้นตอตา
คือ ต้นกล้ายางที่ได้รับการติดตาด้วยยางพันธุ์ดีหลังจากที่ติดตาเรียบร้อยแล้ว จึงถอนขึ้นมาตัดแต่งราก และตัดต้นเดิม เหนือแผ่นตาประมาณ 2 ฝ นิ้วทิ้ง แล้วนำต้นตอที่ได้ไปปลูกทันที ต้นตอตาจะเป็นต้นพันธุ์ที่ไม่มีดินห่อหุ้มรากหรือเรียกว่าต้นเปลือกราก

          2. ต้นติดตาชำในถุงพลาสติกหรือยางชำถุง
คือ ต้นตอตาที่น้ำมาชำในถุงพลาสติกขนาดกว้าง 4 ฝ นิ้วยาว 14 นิ้ว หรือขนาดใหญ่กว่านี้ที่บรรจุดินไว้เรียบร้อยแล้ว ดูแลบำรุงรักษา จนตาแตกออกมาเป็นใบได้ขนาด 1-2 ฉัตร อายุประมาณ 3-5 เดือน และมีใบในฉัตรยอดแก่เต็มที่

          3. ต้นยางที่ปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลง
คือการปลูกสร้างสวนยางโดยใช้เมล็ดปลูกในแปลงโดยตรง เมื่อเมล็ดเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่มีขนาดเหมาะสมจึงทำการติดตาในแปลงปลูก
ต้นพันธุ์ยางทั้ง 3 ชนิดดังที่กล่าวมาแล้วเหมาะสมที่จะปลูกในภาคตะวันออก และภาคใต้ แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแนะนำให้ปลูกด้วยต้นยางชำถุง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยาง

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง

ยางพาราจะสามารถปลูกได้และให้ผลดีถ้ามีสภาพแวดล้อมบางประการ ที่เหมาะสมดังนี้

1. พื้นที่ปลูกยาง
- ไม่ควรอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเกิน 200 เมตร และไม่ควรมีความลาดเทเกิน 45 องศา หากจะปลูกยางในพื้นที่ที่มีความลาดเทเกิน 15 องศาขึ้นไป ควรปลูกแบบขั้นบันได
2. ดิน
- ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร โดยไม่มีชั้นของหินแข็งหรือดินดาน ซึ่งจะขัดขวางการเจริญเติบโตของราก เนื้อดินควรเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีการระบายน้ำและอากาศดี น้ำไม่ท่วมขัง ระดับน้ำใต้ดินลึกกว่า 1 เมตร ไม่เป็นดินเค็มและมีความเป็นกรดเป็นด่าง 4.0-5.5
3. น้ำฝน
- มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,350 มิลลิเมตรต่อปี และมีฝนตกไม่น้อยกว่า 120 วันต่อปี
4. ความชื้นสัมพันธ์
- เฉลี่ยตลอดปีไม่น้อยกว่า 65 เปอร์เซ็นต์
5. อุณหภูมิ
- เฉลี่ยตลอดปีไม่แตกต่างกันมากนัก ควรมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 24-27 องศาเซลเซียส
6. ความเร็วลม
- เฉลี่ยตลอดปีไม่เกิน 1 เมตรต่อวินาที
7. แหล่งความรู้
- ควรมีแหล่งความรู้เรื่องยางไว้ให้บริการแก่เกษตรกรในพื้นที่ด้วย

การเตรียมดิน

          เมื่อเผาปรนเสร็จให้เตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง พรวน 1 ครั้ง ในกรณีที่เป็น พื้นที่ลาดเทมาก เช่น เนินเขาชันเกิน 15 องศา จะต้องทำขั้นบันไดหรือชานดิน เพื่อป้องกันมิให้น้ำฝนชะล้างเอาหน้าดินไหลไปตามน้ำ อาจทำเฉพาะต้นหรือ ทำยาวเป็นแนวเดียวกัน ล้อมเป็นวงกลมรอบไปตามไหล่เขาหรือเนินก็ได้ โดยให้ระดับขนานไปกับพื้นดิน ขั้นบันไดควรกว้างน้อยที่สุด 1.50 เมตร แต่ละขั้น ให้ตัดดินลึกและเอียงเข้าไปในทางเนินดิน ตรงขอบด้านนอกทำเป็นคันดินสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 60-70 เซนติเมตร ระยะระหว่างขั้นบันไดประมาณ 8-10 เมตร

วิธีติดราง และถ้วยรับน้ำยาง

วิธีติดรางและถ้วยรับน้ำยาง


เวลาที่เหมาะสมในการกรีดยาง

          ควรจะเริ่มกรีดยางตั้งแต่ตอนเช้า ประมาณ 06.00-08.00 น. เพราะจะทำให้ปฏิบัติงานได้สะดวก เนื่องจากมองเห็นชัดเจนกว่ากลางคืนและผลผลิตที่ได้ใกล้เคียงกับการ กรีดในตอนกลางคืน

ขนาดของงานกรีดยาง
          คนกรีดยาง 1 คน จะสามารถกรีดยางในสวนยางที่ปลูกในพื้นที่ราบ ตามระบบครึ่งลำต้นวันเว้นวัน
ได้ประมาณ 400-450 ต้นต่อวัน

วิธีการกรีดยาง
          ควรกรีดยางโดยใช้วิธีกระตุกข้อมือหรือการซอย พร้อมกับย่อตัวและสลับเท้าไปตามรอยกรีด ของต้นยาง อย่ากรีดโดยวิธีใช้ท่อนแขนลากหรือกระชากเป็นอันขาด การกรีดโดยวิธีกระตุกข้อมือจะทำให้กรีดได้เร็ว ควบคุมการกรีดง่าย กรีดเปลือกได้บาง แม้จะกรีดบาดเนื้อไม้ก็จะบาดเป็นแผลเล็กๆเท่านั้น

ระบบการกรีดยาง
          เนื่องจากในระยะ 2-3 ปีแรกของการกรีด ต้นยางยังอยู่ในระยะการเจริญเติบโตค่อนข้างสูง การกรีดยาง มากเกินไปจะทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงควรกรีดยางในระบบครึ่งต้นวันเว้นวัน โดยหยุดกรีดในช่วงผลัดใบและไม่มีการกรีดชดเชยเพื่อ ทดแทน วันที่ฝนตกจนกระทั่งปีที่ 4 ของการกรีดเป็นต้นไป จึงสามารถกรีดชดเชยได้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวันนี้ใช้ได้กับยาง เกือบทุกพันธุ์ ยกเว้นบางพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่ายเท่านั้นที่ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นสองวัน

ข้อควรปฏิบัติในการกรีดยาง

1. ควรกรีดยางตอนเช้าหลังจากที่มีแสงสว่างแล้ว
2. กรีดยางเฉพาะต้นที่ได้ขนาดแล้ว
3. รอยกรีดจะต้องเริ่มจากซ้ายบนมาขวาล่าง เอียงประมาณ 30 องศากับแนวระดับ
4. อย่ากรีดเปลือกหนา เพราะจะทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหาย
5. อย่ากรีดเปลือกหนา ภายใน 1 เดือน ไม่ควรกรีดให้เปลืองเปลือกเกิน 2.5 เซนติเมตร หรือภายใน 1 ปี ไม่ควรกรีดให้เปลืองเปลือกเกิน 25 เซนติเมตร
6. หยุดกรีดเมื่อยางผลัดใบหรือเป็นโรคหน้ายาง
7. มีดกรีดยางต้องคมอยู่เสมอ
8. การเปิดกรีดยางหน้าที่สองและหน้าต่อไปให้เปิดกรีดที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร

การกรีดยางหน้าสูง


          การกรีดยางหน้าสูง หมายถึง การกรีดยางหน้าบนเหนือหน้ากรีด ปกติซึ่งเป็นส่วน ที่ไม่เคยกรีดยางมาก่อน ต้นยางที่เหมาะสมที่จะทำการกรีดยางหน้าสูงคือ ต้นยางก่อนโค่นซึ่งมีอายุมาก หรือหน้ากรีดปกติเสียหาย
โดยทั่วไปการกรีดยางหน้าสูงจะต้องใช้สารเคมีเร่งน้ำยาควบคู่กันไปด้วย เพื่อต้องการให้ได้รับยาง มากที่สุดก่อนที่จะโค่นยางเก่าเพื่อปลูกแทน 2-4 ปี โดยใช้สารเคมีเร่งน้ำยางอีเทรล 2.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวเร่ง

การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับรอยกรีดหน้าล่าง

          วิธีนี้เหมาะสำหรับต้นยางที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยใช้สารเคมีเร่งน้ำยางเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ ทาเหนือรอยกรีดหน้าล่างทุก 3 สัปดาห์โดยไม่ต้องขูดเปลือกและลอกขี้ยาง แต่ต้องกรีดครึ่งต้น วันเว้นสองวันโดยเคร่งครัดเพื่อป้องกันการเกิดอาการ โรคเปลือกแห้ง ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมี เร่งน้ำยายางกับยางที่เพิ่งเปิดกรีดใหม่ ยกเว้นยางบางพันธุ์ที่มักจะให้น้ำยางน้อย ในช่วงแรก ของการเปิดกรีด เช่น พันธุ์จีที (GT) 1 อาจใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5 เปอร์เซ็นต์ทาในรอยกรีด โดยลอกขี้ยางออกก่อนจากที่เปิดกรีดไปแล้ว 1 เดือนก็ได้และทาสารเคมีเร่งน้ำยางทุก 3-4 เดือน หรือปีละ 3-4 ครั้ง ใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นสองวัน แต่ในปีถัดไปถ้าผลผลิตสูงขึ้น แล้วควรหยุดใช้ สารเคมีเร่งน้ำยาง

สรุปคำแนะนำการกรีดยางและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง


**ควรใช้เฉพาะกับยางพันธุ์จีที (GT) 1 ในช่วง 1-3 ปีแรกของการเปิดกรีด

การกรีดยาง

การกรีดยาง

          การกรีดยางต้องยึดหลักที่ว่า เมื่อกรีดแล้วจะต้องได้น้ำยางมากที่สุด เปลือกเสียหายน้อยที่สุด กรีดได้นาน 25-30 ปี และประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด

ขนาดของต้นยางที่เปิดกรีดได้
     1. ขนาดของต้นยางที่พร้อมเปิดกรีดต้องมีเส้นรอบต้นไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร วัดที่ความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร
     2. เปิดกรีดครั้งแรกเมื่อมีจำนวนต้นยางที่พร้อมเปิดกรีดในสวนเกินกว่าครึ่งหนึ่ง ของต้นยาง ทั้งหมดในสวน
     3. ต้นยางติดตา สามารถเปิดกรีดครั้งแรกได้ที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 50, 75, 100, 125, หรือ 150 เซนติเมตรระดับใดระดับหนึ่งก็ได้ แต่ถ้าเปิดกรีดต่ำจะได้รับผลผลิตมากกว่า

บริเวณที่ใส่ปุ๋ย

บริเวณที่ใส่ปุ๋ย

          ระยะแรกหลังจากปลูกยาง รากของต้นยางจะแผ่ออกเป็นวงกลมรอบลำต้น ประมาณปีที่ 4 รากจึงจะแผ่ขยายออกไปจนถึงกึ่งกลางระหว่างแถวยาง และเมื่อต้นยางมีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป รากก็จะแผ่ขยายเพิ่มขึ้นและหนาแน่น อยู่ในบริเวณห่างจากลำต้น ประมาณ 60 เซนติเมตร จนถึง 3 เมตร ดังนั้นเพื่อให้การ ดูดอาหารของต้นยางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรใส่ปุ๋ยบริเวณ ที่มีรากดูดอาหาร หนาแน่นคือเมื่อต้นยางยังเล็กควรใส่ปุ๋ยเป็นวงกลม รอบลำต้น ส่วนต้นยาง ที่มีออายุตั้งแต่ 17 เดือนขึ้นไป ให้หว่านปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอเป็นแถบยาว ไปให้แถวยาง ห่างจากโคน ต้นยางข้างละ 1 เมตร เมื่อยางมีอายุ 5 ปีขึ้นไปให้หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้างห่าง จากโคนต้นยางอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และขยายออกไปถึง 3 เมตร สำหรับยาง ที่เปิดกรีด แล้วให้หว่านปุ๋ยทั่วแปลงห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร


บริเวณที่ใส่ปุ๋ยให้ต้นยางก่อนเปิดกรีด

การกำจัดวัชพืช

การกำจัดวัชพืช

การกำจัดวัชพืชทำได้ 3 วิธีคือ
     1. ใช้จอบถากหรือแทรกเตอร์ไถ วิธีนี้เกษตรกรนิยมใช้มากแต่มีข้อเสียคือจะกระทบกระเทือนต่อราก ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต
     2. ใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน โดยนำเมล็ดพืชคลุมดินแต่ละชนิดมาผสมกันแล้วนำไปปลูกโดยใช้เมล็ดพืชคลุมดินในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ปลูกยาง 1 ไร่ ยกเว้นในท้องที่แห้งแล้งใช้อัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อไร่

อัตราการผสมเมล็ดพืชคลุมดิน

ภาคใต้และภาคตะวันออก

- คาโลโปโกเนียม 2 ส่วน เซนโตรซีม่า 2 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน
- คาโลโปโกเนียม 5 ส่วน เซนโตรซีม่า 4 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

          - คาโลโปโกเนียม 1 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน
โดยก่อนปลูกควรนำเมล็ดพืชคลุมดินไปแช่ในน้ำอุ่น (น้ำร้อน 2 ส่วนผสมกับน้ำ เย็น 1 ส่วน) ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วเทน้ำทิ้ง ปล่อยให้เมล็ดแห้งพอหมาด จากนั้นนำเมล็ดไปคลุกกับปุ๋ยร้อคฟอสเฟตในปริมาณที่เท่ากันโดยน้ำหนัก แล้วจึงนำไปปลูกได้
          - วิธีการปลูกพืชคลุมดิน ให้ใช้จอบขุดดินเป็นร่องลึกประมาณ 2-3 นิ้ว ให้เป็นแถว 3 แถว โดยให้แถวริม ที่อยู่ชิดแถวยางอยู่ห่างจากแถวยางข้างละ 2 เมตร ส่วนแถวกลางให้อยู่ระหว่างกลางของแถวริมทั้งสอง นำเมล็ดพืชคลุมดิน โรยลงในร่องแล้วเกลี่ยดินกลบเมล็ด
การปลูกพืชคลุมดินนี้ จะลงมือปลูกพืชคลุมดินก่อน หรือจะปลูกพร้อมๆกับ ปลูกยาง หรือหลังปลูกยางแล้ว ก็ได้ แต่เพื่อความสะดวกและง่าย ต่อการกำจัด วัชพืชควรปลูกพืชคลุมดินหลังจาก ได้เตรียมดินวางแนว และกะระยะปลูกยาง เสร็จเรียบร้อยแล้ว
หลังจากปลูกพืชคลุมดินจนกระทั่งเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าเล็กๆแล้ว ควรดูแลกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งพืชคลุมดินเริ่มทอดเถาเลื้อย ไปคลุมดินจึงใส่ปุ๋ยร้อคฟอสเฟต ในอัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อบำรุงพืช คลุมดิน

     3. การใช้สารเคมี เป็นวิธีที่ให้ผลดี ประหยัดแรงงาน และเวลา นิยมใช้กับต้นยางที่มีอยายุ 1 ปีขึ้นไป หรือต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินมากกว่า 75 เซนติเมตรไปแล้ว ส่วนต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินน้อยกว่า 75 เซนติเมตรไม่ควรใช้วิธีนี้

การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับยางอ่อน

          การปลูกยางโดยใช้ต้นตอตาหรือยางชำถุง จะใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในแถวยาง ได้อย่างปลอดภัยต่อเมื่อต้นยางมีเปลือก สีน้ำตาลที่บริเวณ โคนต้นสูงจากพื้นดิน 75 เซนติเมตร
สารเคมีที่ใช้ในสวนยางอ่อนมีอยู่หลายสูตร แต่จะแนะนำเฉพาะบางสูตรที่หา ได้ง่ายเช่น

          สูตรที่ 1 ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ระวังอย่าให้สารเคมี ถูกใบหรือส่วนที่เป็นสีเขียวของต้น สูตรนี้จะเหมาะกับต้นยาง ที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป สามารถคุมวัชพืชได้นาน 3-5 สัปดาห์ โดยหลังจากพ่นสารเคมี แล้วยภายใน 2-3 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์

          สูตรที่ 2 ใช้ดาลาพอน 800 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่น และหลังจากนั้นอีก 21 วัน ให้พ่นซ้ำด้วยพาราควอท 40 กรัม (เนื้อสาร บริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ อีกครั้งหนึ่ง สูตรนี้เหมาะกับต้นยาง ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงเดี่ยว
          สูตรที่ 3 ใช้พาราควอท 60 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) และ 2,4-ดี 150 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สุตรนี้จะเหมาะกับต้นยาง ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงคู่ รวมทั้งพืชคลุม ที่เลื้อยเข้าไปพันต้นยาง

          สูตรที่ 4 ใช้ไกลโฟเสท 205 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สามารถ กำจัดวัชพืชได้หลายชนิดโดยไม่มีพิษตกค้างในดิน สามารถคุมวัชพืช ได้นาน 2 เดือน สูตรนี้เหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยหลังจากพ่น สารเคมีแล้วภายใน 6 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์

การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับสวนยางที่กรีดแล้ว
          ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีเหลือง

การกำจัดหญ้าคา
          การใช้สารเคมีกำจัดหญ้าคานับว่าเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้ ผลดีกว่าวิธีอื่นๆ โดยมีสูตรการใช้สารเคมีให้เลือก 3 สูตรคือ

     สูตรที่ 1 ใช้ดาราพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีแดง หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้ดาลาพอนในอัตราเดิม ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง จากนั้นประมาณ 3-4 เดือน หากมีหญ้าคางอกหรือหลงเหลืออยู่ ควรฉีดพ่นสารเคมี อีกครั้งในอัตราเดิม

     สูตรที่ 2 ถ้าต้นยางมีอายุตั้งแต่ 2 ปี ลงมาและมีหญ้าคาขึ้นบริเวณโคนต้น ให้ฉีดพ่น ด้วยด้วยดาลาพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อลดอันตรายของต้นยางอ่อนซึ่งอาจเกิดขึ้นจากดาลาพอน

      สูตรที่ 3 ใช้ไกลโฟเสท 410 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ฉีดพ่นเพียงครั้งเดียว
ข้อสังเกต การกำจัดหญ้าคาควรฉีดพ่นสารเคมีในช่วงที่หญ้าคากำลัง เจริญเติบโต (ต้นฤดูฝน) จะได้ผลดีที่สุด การกำจัดหญ้าคาด้วยไกลโฟเสทให้ผลดีกว่า ดาลาพอน ซึ่งดาลาพอนต้องพ่นถึง 2 ครั้ง แต่เมื่อเปรียบเทียบทางด้านค่าใช้จ่ายแล้วการใช้ดาลาพอนจะประหยัดกว่า
หมายเหตุ : เนื้อสารบริสุทธิ์ หมายถึง ปริมาณสารออกฤทธิ์ซึ่งจะต้องปรากฏ ในฉลาก ที่ภาชนะบรรจุเป็นภาษาไทย ตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 มาตรา 21

การเตรียมพื้นที่ปลูก

การเตรียมพื้นที่ปลูกยาง

     การเตรียมพื้นที่ปลูกยาง
          ในพื้นที่ที่เป็นสวนยางเก่า ป่า หรือมีไม้ยืนต้นอื่นขึ้นอยู่ จะต้องโค่นไม้ เหล่านั้นเสียก่อน การโค่นจะใช้วิธีตัดต้นไม้ให้เหลือตอสูง 40-50 เซนติเมตร แล้วทำลายตอไม้เหล่านั้นให้ผุสลายในภายหลัง โดยใช้สาร เคมีไทรโคลเปอร์ หรือการ์ลอน 4 (ชื่อการค้า) ในอัตรา 5 ซี.ซี. ผสมน้ำ 95 ซี.ซี. ต่อตอ โดยทาก่อนหรือหลังตัดต้นไม้ 1-7 วันก็ได้ หรือจะใช้ รถแทรกเตอร์ไถต้นไม้ออกจากแปลงให้หมดก็ได้เช่นกัน
หลังจากโค่นต้นยางเก่า หรือต้นไม้อื่นๆ แล้วต้องเก็บไม้ใหญ่ออก จากนั้นเก็บเศษไม้รวมเป็นกองๆ เรียงเป็นแนวตามพื้นที่ ตากให้แห้ง ทำแนวกันไฟแล้วเผา หลังจากเผาเสร็จควรเก็บปรนที่ยังไหม้ไม่หมดรวมกันเผาอีกครั้ง


การเตรียมหลุมปลูก

          หลุมปลูกยางโดยทั่วไปจะมีขนาดกว้าง x ยาวxลึก เท่ากับ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร การขุดหลุมปลูกควรแยกดินบนและดินล่างไว้คนละส่วน ตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นย่อยดินบนให้ร่วนแล้วผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุมี

การปลูกซ่อม

          หลังจากปลูกแล้วอาจมีต้นยางบางต้นตายไปเนื่องจากอากาศแห้งแล้ง ถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นที่ปลูกไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องปลูกซ่อม ซึ่งควรทำให้เสร็จภายในช่วงฤดูฝน ต้นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกซ่อม คือ ยางชำถุง เพราะจำทำให้ต้นยางที่ปลูกในแปลงมีขนาดไล่เลี่ยกัน ส่วนต้นยางที่มีอายุเกิน 1 ปี ไปแล้วไม่ควรปลูกซ่อม เพราะจะถูกบังร่มไม่สามารถเจริญเติบโตทันต้นอื่นได้

ภาพหน้าแปลง

          ภาพทั้งหมด ถ่ายมาจากหน้าแปลงยางจริง ของคุณกัลยา ศรีสว่าง เจ้าของแปลงยาง ซึ่งเป็นเจ้าแรกของจังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นผู้บุกเบิก กิ่งตาพันธุ์ และพันธุ์กล้ายาง

ป้ายหน้าถนนใหญ่ มองดูชัดเจน